Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

อาหารโลว์แฟตเทียบกับอาหารโลว์คาร์บ

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

ถกเถียงกันมานานว่าในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเบาหวานประเภทที่สองซึ่งมักมีปัญหาน้ำหนักตัวสูงมาก่อน จะเลือกใช้ “อาหารโลว์แฟต” อาหารไขมันต่ำที่มีพืชผักเป็นหลัก (Low fat-plant based diet หรือ LFPB) หรือ “อาหารโลว์คาร์บ” แป้งต่ำมีเนื้อสัตว์เป็นหลัก (Low carb-animal based diet หรือ LCAB) อย่างไหนดีกว่ากัน หากเป็นยุคก่อนข้อแนะนำคือให้เลือกบริโภคอาหารไขมันต่ำเพื่อหาทางลดน้ำหนักตัวลง เพราะอาหารไขมันคือศัตรูตัวฉกาจของคนอ้วน ลดไขมันลงแล้วทดแทนพลังงานที่ขาดไปด้วยอาหารที่เป็นพืชผักรวมทั้งธัญพืช ทำให้สัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตที่มาจากธัญพืชเพิ่มขึ้น 

มาถึงยุคใหม่ ข้อแนะนำเปลี่ยนแปลงไปโดยแนะนำให้ลดคาร์โบไฮเดรตหรืออาหารประเภทแป้งลงเพราะรู้ว่าอาหารประเภทแป้งเป็นตัวกระตุ้นฮอร์โมนอินสุลินและอินสุลินคือปัญหาของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อาหารที่แนะนำจึงเป็นอาหาร “โลว์คาร์บ” พลังงานจากแป้งที่ลดลงทดแทนด้วยเนื้อสัตว์ซึ่งมักมีไขมันและโปรตีนสูง อาหารประเภทนี้นิยมบริโภคกันมากในระยะหลัง อาหารทั้งสองประเภทนี้ต่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากอยากรู้ว่าอย่างไหนดีกว่ากันจำเป็นต้องทำการวิจัยทดลองทางคลินิก 

ศ.นพ.เควิน ดี ฮอลล์ (Kevin D Hall) สถาบันแห่งชาติด้านเบาหวานและโรคระบบย่อยอาหารและไต (National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases) เมืองเบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และทีมงานทำการศึกษาเปรียบเทียบอาหารทั้งสองกลุ่มนี้จากนั้นนำผลงานออกมาตีพิมพ์ในวารสาร Nature Medicine เดือนมกราคม ค.ศ.2021 ที่ผ่านมานี้เอง เราลองไปดูกัน

ทีมวิจัยไม่ได้ให้ข้อสรุปว่าอาหารกลุ่มไหนดีกว่ากลุ่มไหน แต่ดูจากผลการทดลอง ในกรณีผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการลดน้ำตาลและอินสุลินในเลือดลง การเลือกอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ LCAB ให้ผลดีกว่า ทว่าต้องระวังเรื่องการสะสมไขมันในร่างกายไว้หน่อย อาจใช้วิธีเพิ่มโปรตีนขึ้นจาก 14% เป็น 20% ซึ่งอาจช่วยให้การสะสมไขมันในร่างกายไม่สูงเกินไป น่าเสียดายที่งานทดลองนี้ไม่มีการศึกษาผลของอาหารโปรตีนสูงพร้อมกันไปด้วย

 

ผู้เขียน

เขียนโดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน

Compiled by Assoc. Prof. Dr.Winai Dahlan

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this