Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

, ,

กินข้าวกล้องลดโรคอ้วนลดเบาหวาน

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

รู้กันมานานว่าการบริโภคข้าวกล้อง (Whole grain) หรือข้าวที่ผ่านกระบวนการขัดสีต่ำย่อมดีกว่าการบริโภคข้าวขาว (Refined grain) ที่ผ่านกระบวนการขัดสีสูง ส่วนดีทางด้านไหนบ้าง ช่วยป้องกันเบาหวานไหม ลดโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือเปล่ากลับไม่มีข้อมูลวิจัยที่เป็นมาตรฐานสนับสนุนมากนัก กลายเป็นเรื่องที่พูดกันปากต่อปากหรือมโนกันไปเอง ถึงเวลานี้มีงานวิจัยระดับโลกออกมายืนยันกันแล้ว ลองไปดูกันดีกว่า

งานวิจัยระดับคลาสสิกที่ได้รับการยอมรับสูง คืองานวิจัยในประชากรขนาดใหญ่ (Cohort study) ชิ้นที่ได้รับการยอมรับกันมากคืองานวิจัยที่เรียกว่า Flamingham study จากเมืองฟลามิงแฮม แมสสาชูเส็ตต์ สหรัฐอเมริกา เป็นงานวิจัยที่ติดตามศึกษาประชากรนับจำนวนแสนทั้งชายหญิงในแทบทุกวัย เริ่มกันตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 ติดตามข้อมูลกันหลายสิบปี ในส่วนของเรื่องข้าวกล้องกับข้าวขาว ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยทัฟท์ (Tuft University) นำทีมโดย ศ.ดร.คาเล ซาวิกกี (Caleigh M Sawicki) ทำวิจัยโดยใช้ประชากรจาก Flamingham study อายุเข้าวัยกลางคนคือเกิน 50 ปี จำนวน 3,100 ราย ติดตามศึกษากันตลอด 18 ปีตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 นำข้อมูลด้านการบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่เป็นข้าวขาวเปรียบเทียบกับข้าวกล้องมาเปรียบเทียบ วิเคราะห์และรายงานผลในวารสาร J Nutrition เดือนกรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมานี้เอง

สรุปคือคนวัยกลางคนซึ่งมีแนวโน้มจะมีเส้นรอบเอวเพิ่มขึ้นหรือรอบเอวใหญ่ขึ้น และมีค่าน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอันเป็นภาวะปกติ หากบริโภคข้าวกล้องเป็นประจำ พบว่าเส้นรอบเอวและระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่มคนที่บริโภคข้าวขาวครึ่งหนึ่งหรืออย่างมีนัยสำคัญนั่นหมายถึงมีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและเบาหวานน้อยกว่า นอกจากนี้ค่าความดันโลหิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวล่างยังดีกว่า สรุปว่าทีมวิจัยแนะนำว่าเมื่อมีอายุมากขึ้นควรเพิ่มการบริโภคข้าวกล้องหรือข้าวขัดสีต่ำให้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน รวมทั้งความดันโลหิตสูง ในกรณีหลังแม้เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ทีมวิจัยไม่สรุปว่าการบริโภคข้าวกล้องช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เอาเป็นว่าช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดก็แล้วกัน #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #บริโภคข้าวกล้อง

 

ผู้เขียน

เขียนโดย ดร.วินัย ดะห์ลัน

Compiled by Dr.Winai Dahlan

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this