Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

นอนไม่พอสร้างปัญหามากกว่าที่คิด

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

คุยกันเรื่องสุขภาพที่ไม่ใช้ยา ไม่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แพทย์และนักวิทยาศาสตร์สุขภาพมักเน้นไปที่โภชนาการและการออกกำลังกายเป็นหลัก แนะนำกันตลอดว่าให้บริโภคอาหารให้ครบส่วน ไม่ขาดพลังงาน วิตามิน เกลือแร่ แถมด้วยผักผลไม้ เน้นการออกกำลังกาย ดูเอาเถอะ บ่อยครั้งส่วนที่ถูกลืมคือ “การนอน” หากนอนไม่เพียงพอ นอนขาดคุณภาพ ถึงโภชนาการดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สุขภาพก็ยังดีขึ้นไม่ได้ การนอนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ว่ากันอย่างนั้น

เดิมเคยเข้าใจกันว่าการนอนคือการที่ร่างกายได้พักผ่อน กลไกในร่างกายหยุดทำงานยกเว้นส่วนที่ทำให้ยังคงดำรงชีวิตเท่านั้น เอาเข้าจริงมันไม่ใช่อย่างนั้น ระหว่างนอนหลับ กลไกการกำจัดสารพิษในร่างกายยังคงทำงาน การนอนจึงช่วยขจัดสารพิษโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองที่สะสมสารตกค้างจากเมแทบอลิซึมระหว่างวันไว้จำนวนไม่น้อย การนอนที่ดีช่วยให้สมองบริหารจัดการข้อมูลใหม่ๆได้มีประสิทธิภาพขึ้น ระบบความจำตลอดจนการบริหารจัดการด้านอารมณ์ทำงานดีขึ้น การนอนหลับจึงไม่ใช่เรื่องที่ร่างกายพักผ่อนอย่างเดียว เป็นเรื่องของการปรับปรุงซ่อมแซมระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆพร้อมกันไปด้วย

การนอนให้เพียงพอคือ 6-8 ชั่วโมง หากนอนไม่เพียงพอ ไม่เต็มอิ่ม อาจมีผลทำให้กินมากขึ้น เนื่องจากการควบคุมการกินเกิดปัญหา นอนไม่พอทำให้ฮอร์โมนหิวคือกรีลิน (ghrelin) เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนอิ่มคือเล็พติน (leptin) ลดลง หิวบ่อยขึ้น กินแล้วยังไม่รู้สึกอิ่ม การนอนไม่พอจึงอาจทำให้อ้วนขึ้น เวลานี้เริ่มเข้าใจกันแล้วว่า เป็นผลมาจากฮอร์โมนเหล่านี้เอง การนอนไม่พอ นอกเหนือจากทำให้ฮอร์โมนหิวและอิ่มเกิดปัญหาอย่างที่บอกแล้ว ยังอาจทำให้การสร้างสารบางกลุ่มที่เรียกว่า “เอ็นโดคันนาบินอยด์” (endocannabinoids) เพิ่มขึ้นได้ด้วย ทำให้หิวมากขึ้นอยากอาหารบ่อยขึ้น 

เอ็นโดคันนาบินอยด์ที่ว่านี้เป็นสารกลุ่มลิพิดที่สร้างขึ้นในระบบประสาททำงานเกี่ยวข้องกับระบบเอ็นโดคันนาบินอยด์ซึ่งเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เพิ่งค้นพบไม่นานมานี้ เชื่อกันว่าปัญหาด้านสุขภาพที่มักเจอกันบ่อยระยะหลัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการมีบุตรยาก การตั้งครรภ์ การพัฒนาในวัยเด็ก ระบบภูมิคุ้มกันเป็นปัญหา กลไกความอยากอาหาร ความเจ็บปวด อารมณ์ ความจำ อาจเกี่ยวข้องกับระบบเอ็นโดคันนาบินอยด์ที่ว่านี้ ซึ่งการนอนไม่เพียงพอ รวมถึงคุณภาพการนอนที่มีปัญหา อาจมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบเอ็นโดคันนาบินอยด์ก็ได้ ใช้คำว่าอาจเพราะเป็นเรื่องใหม่ ยังหาข้อมูลได้ไม่ครบถ้วน ดังนั้นกันไว้ดีกว่าแก้ ไม่อยากมีปัญหา หาทางนอนให้เพียงพอก็แล้วกัน #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #นอนไม่พอ

 

ผู้เขียน

เขียนโดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน

Compiled by Assoc. Prof. Dr. Winai Dahlan

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this