Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

อินสุลินกะกลางคืน

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

ใครจะไปเชื่อว่าการทำงานของฮอร์โมนอินสุลินแบ่งเป็นสองกะคล้ายกับ รปภ. มีกะกลางวันทำงานแบบหนึ่งกับกะกลางคืนทำงานอีกแบบหนึ่ง เป็นเพราะอย่างนี้เองนักโภชนาการจึงแนะนำว่าว่าไม่ควรกินอาหารก่อนนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกิน 4 ชั่วโมงก่อนนอนซึ่งทำให้ร่างกายสงวนพลังงานจากการย่อยไว้ พลังงานที่ถูกสงวนจะเปลี่ยนไปเป็นไขมันทำให้อ้วนง่ายนี่คือเหตุผลส่วนหนึ่ง ส่วนเหตุผลอื่นนักวิจัยอย่าง ศาสตราจารย์ ดร.คาร์ล จอห์นสัน (Carl Johnson) แห่งภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี อธิบายไว้ในวารสาร Current Biology ตีพิมพ์ตอนต้น ค.ศ. 2013 

ดร.จอห์นสันศึกษาในหนูทดลองได้ผลสรุปออกมาว่าเวลากินอาหาร ร่างกายจะหลั่งอินสุลินเพื่อทำหน้าที่กระตุ้นการดึงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อสลายเป็นพลังงานในรูปอะเซติลโคเอ สารตัวนี้ส่วนใหญ่จะถูกนำไปสร้างงาน อีกส่วนหนึ่งนำไปสะสม ทั้งสองส่วนเป็นผลมาจากการทำงานของอินสุลิน การกินกลางวันหรือกินกลางคืน สารอาหารกระตุ้นอินสุลินเหมือนกัน แต่อินสุลินตัวเดียวกันนี้กลับทำให้การกินกลางวันกับกลางคืนไม่เหมือนกัน 

อินสุลินกระตุ้นการสร้างพลังงานและกระตุ้นการนำพลังงานไปใช้ ส่วนหนึ่งนำไปสร้างงานอีกส่วนนำไปเก็บสะสม ประเด็นสำคัญมันอยู่ตรงนี้เองนั่นคืออินสุลินหากทำงานในเวลากลางวันมันจะเหนี่ยวนำให้พลังงานถูกนำไปใช้ในการทำงานมากกว่าการถูกนำไปสะสม แต่หากทำงานในเวลากลางคืนกลับกลายเป็นว่ามันจะเหนี่ยวนำให้นำพลังงานไปสะสมเป็นไขมันมากกว่าการนำไปใช้งาน เหตุที่เป็นเช่นนั้นเป็นผลมาจากนาฬิกาชีวิตหรือ biological clock ในร่างกายซึ่งกำหนดการทำงานของสารหลายชนิดในร่างกายรวมทั้งฮอร์โมนอินสุลินด้วย

นาฬิกาชีวิตฝังตัวอยู่ที่จุด Supraoptic nucleus หรือ SON ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนไฮโปธาลามัส โดยส่วนนี้    มีเซลล์ประสาทประมาณ 3 พันเซลล์ จุดนี้เองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของนาฬิกาชีวิต มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด  ทำให้การทำงานของฮอร์โมนในช่วงเวลาต่างๆของวันแตกต่างกัน การกินอาหารผิดเวลาย่อมส่งผลให้นาฬิกาชีวิตส่งอิทธิพลต่อการทำงานของอินสุลินเป็นไปเช่นที่บอกไว้ ใครไม่เคยรู้ อินสุลินทำงานแบบมีกะเช่นเดียวกับ รปภ. มีกะกลางวันและกลางคืน     ก็ควรจะรู้ไว้ 

 

ผู้เขียน

เขียนโดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน

Compiled by Assoc.Prof.Dr.Winai Dahlan

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this