Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

, ,

การถือศีลอดกับภาวะโรคอ้วน

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

เดือนรอมฎอนนับเป็นเดือนที่ 9 ของปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินฮิจเราะห์ เป็นเดือนอันประเสริฐที่มีการประทาน    อัลกุรอ่านลงมาให้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติ และมีบทบัญญัติให้มุสลิมถือศีลอด ด้วยการงดเว้นการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม นับตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า และไม่เพียงเท่านี้ผู้ศรัทธาทั้งหลายต้องอดทนต่อการกระทำที่ผิดหลักศาสนา ห่างไกลจากสิ่งที่ไม่ดี ทั้งกาย วาจาและใจ การรับประทานอาหารในเดือนรอมฎอนนั้น แบ่งออกเป็นสองมื้อหลักๆ มื้อแรกก่อนแสงอรุณจะเริ่มขึ้น ที่เรียกว่า “ซาโฮร” มื้อนี้เปรียบเสมือนเสบียงพลังงานของการถือศีลอดตลอดวัน ควรรับประทานอาหารที่ทำให้อิ่มท้องนาน และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้กระหายน้ำหรือกระตุ้นการขับน้ำออกจากร่างกายเพื่อป้องกันการขาดน้ำระหว่างวัน และเมื่อตะวันลับขอบฟ้า ถึงเวลาของการละศีลอดหรือ “อิฟฏอร” ควรรับประทานอาหารที่ช่วยให้ร่างกายมีการปรับตัวและชดเชยพลังงานที่เสียไปได้เร็วขึ้น และตามด้วยอาหารหลักที่มีสารอาหารครบถ้วน รับประทานอาหารอย่างช้าๆ ในปริมาณที่เหมาะสม

การถือศีลอดมีผลดีต่อสุขภาพโดยรวม หากปฏิบัติตนถูกต้องตามหลักการและมีโภชนาการที่ดีตลอดการถือศีลอด ในคนที่มีภาวะโรคอ้วน ปัจจัยหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ นั่นคือ การสะสมหรือมีสารที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ (pro-inflammatory cytokines) ในปริมาณมากเกินไป เช่น สาร tumor necrosis factor-alpha (TNF-α) และ interlukin-6 (IL-6) สารทั้งสองชนิดเป็นสารไซโตโคน์หรือโปรตีนขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่หลั่งจากเซลล์ต่าง ๆ ในระบบภูมิคุ้มกันในภาวะที่ถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจนหรือตอบสนองต่อภาวะการอักเสบ ถือเป็นสารสื่อกลางการอักเสบถ้าพบในปริมาณมากแสดงว่ามีการอักเสบสูง โดยคนที่มีภาวะโรคอ้วนจะมีปริมาณเนื้อเยื่อไขมันมากขึ้นและมีการขยายขนาดของเซลล์ไขมันดังกล่าวเพิ่มขึ้นด้วย เป็นผลให้เพิ่มการหลั่งของสาร TNF-α และ IL-6 จากเซลล์ไขมัน จากงานวิจัยของ Zohal และคณะปี 2020 [1] ศึกษาผลของการถือศีลอดต่อการลดลงของสารที่เกี่ยวข้องต่อการอักเสบ พบว่าการจำกัดพลังงานและน้ำหนักที่ลดลงจากการถือศีลอดนั้น สามารถลดการผลิตสาร TNF-α และ IL-6 โดยลดการทำงานของ nuclear factor kappa B (NF- κB) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ควบคุมการแสดงออกของสารสื่อกลางดังกล่าวในกระบวนการ อักเสบ โดยจะเห็นผลชัดเจนในช่วงปลายเดือนของการถือศีลอดเมื่อเทียบกับก่อนการถือศีลอด นอกจากนี้ ภาวะโรคอ้วนทำให้เกิดความเครียดออกซิเดชัน (oxidation stress) ก่อให้เกิดการอักเสบ ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน งานวิจัยของ Madkaur และคณะ ปี 2019 [2] พบว่า

การถือศีลอดช่วยปรับปรุงและเพิ่มการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการต้านออกซิเดชั่น ได้แก่ เอนไซม์ Superoxide dismutase 2 (SOD2) และ โปรตีนNuclear factor erythroid 2-related factor 2 (Nrf2) ในสภาวะที่ร่างกายมีปริมาณอนุมูลอิสระ หรือ ROS (Reactive oxygen species) มากขึ้น จะกระตุ้นให้โปรตีน Nrf2 ซึ่งเป็นโปรตีนที่สำคัญในการส่งเสริมให้มีการแสดงออกของสารที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระ ในที่นี้จะควบคุมการสร้างเอนไซม์ SOD2 เป็นเอนไซม์ต้านออกซิเดชันที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกายได้ ทำให้สามารถลดการอักเสบที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนั่นเอง การถือศีลอด นอกจากมีผลดีต่อสุขภาพกายแล้ว ยังมีผลดีต่อสุขภาพจิตใจเช่นเดียวกัน ทำให้มีความยำเกรงต่ออัลลอฮมากขึ้น มีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ยากไร้และด้อยโอกาส อดทนอดกลั้นต่อความยากลำบาก มีความเมตตา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ และขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์

ผู้เขียน

เขียนโดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน

Compiled by Dr. Winai Darun
อ้างอิง …

[1] Panyod S, Ho CT, Sheen LY. Dietary therapy and herbal medicine for COVID-19 prevention: A review and perspertive. J Tradit Complement Med 2020.

[2] กลุ่มส่งเสริมโภชนาการผู้สูงอายุ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2563). อาหารเสริมภูมิคุ้มกันต้าน COVID-19 สำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ) จำกัด

[3] คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย (2563). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี.โปรเกรสซีฟ.

[4] สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2561). ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

[5] รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน (2564, 16 กุมภาพันธ์) เฟสบุ๊คแฟนเพจ: โภชนาการเสริมภูมิต้านทานโควิด-19 สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 จาก https://www.facebook.com/drwinaidahlan

อ่านทั้งหมด

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this