Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

ทำความรู้จักกับวัคซีน

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

วัคซีนคืออะไร ?

วัคซีน คือผลิตภัณฑ์ชีวภาพหรือแอนติเจนซึ่งผลิตมาจากเชื้อก่อโรคหรือพิษของเชื้อโรคที่ถูกทำให้ไม่สามารถก่อโรคได้ ซึ่งเมื่อนำเข้าสู่ร่างกายแล้วสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันได้ 

การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เริ่มมาตั้งแต่ปลายปี 2562 จนถึงขณะนี้ยังไม่มีหนทางที่จะกำจัดเชื้อไวรัสให้หมดไปได้ นอกจากวัคซีนซึ่งเป็นความหวังของคนทั้งโลก ซึ่งผู้ผลิตเองก็พยายามที่จะทำให้วัคซีนที่ผลิตขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด โดยทั่วไปการผลิตวัคซีนจะต้องผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลองก่อนเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยแล้วจึงทดลองต่อในคนอีก 3 ระยะ ในระยะที่ 1 (Phase 1 clinical trial) ทดสอบกับอาสาสมัครที่สุขภาพดีเพื่อดูประสิทธิภาพและความปลอดภัย ระยะที่ 2 (Phase 2 clinical trial) ทดสอบกับผู้ที่อยู่ในแหล่งของโรคระบาดเพื่อดูการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันและความปลอดภัย ระยะที่ 3 (Phase 3 clinical trial) ทดสอบกับคนจำนวนมากเพื่อให้แน่ใจในประสิทธิภาพในการป้องกันโรค จึงจะสามารถนำไปผลิตและขึ้นทะเบียนได้ ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี แต่อย่างไรก็ตามในกรณีเร่งด่วนที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ไปทั่วโลกนี้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาวัคซีนให้มีความรวดเร็วมากที่สุด ซึ่งขณะนี้มีวัคซีนที่นำมาใช้กับมนุษย์แล้ว โดยวัคซีนแต่ละชนิดมีการผลิตที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของผู้ผลิตนั้นว่ามีความพร้อมในด้านใด 

วัคซีนชนิดดั้งเดิมที่ผลิตและใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated Vaccines) ซึ่งประกอบด้วยเชื้อที่ทำให้ตายแล้วแต่ยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ การผลิตวัคซีนชนิดนี้ต้องใช้การเพาะเลี้ยงเชื้อเป็นจำนวนมาก ดังนั้นต้องใช้โรงงานที่มีความปลอดภัยสูง แต่เนื่องจากเป็นเชื้อตายจึงสามารถให้วัคซีนนี้กับผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำได้ 

วัคซีนอีกชนิดหนึ่งคือวัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (Live Attenuated Vaccines) เป็นวัคซีนที่ยังมีชีวิตแต่ทำให้เชื้ออ่อนฤทธิ์ลง และร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ สำหรับเชื้อโควิด 19 นี้ เป็นโรคอุบัติใหม่จึงอาจจะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้กลไกที่จะทำให้เชื้ออ่อนฤทธิ์ลง 

ในปัจจุบันวิทยาการด้านชีวโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมเจริญก้าวหน้าไปมากจึงมีการนำองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้ในการผลิตวัคซีน นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะใช้ทดแทนวัคซีนเดิมเพื่อที่จะให้มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และสามารถที่จะผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆได้อย่างทันท่วงที เช่น  

  • เวคเตอร์ไวรัส (Viral Vector) เป็นวัคซีนที่นำสารพันธุกรรมของไวรัสเฉพาะส่วนที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ใส่เข้าไปในตัวพาหรือเวคเตอร์ที่เป็นไวรัสและไม่ก่อโรคในคน เช่น Adenovirus 
  • โปรตีนรีคอมบีแนนท์ (Recombinant protein) การนำยีนของไวรัสที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ไปตัดต่อให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ หรือพืช เพื่อให้สร้างโปรตีนส่วนสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน สำหรับโควิด 19 นี้ใช้โปรตีนที่เป็นหนามแหลมของไวรัสหรือ spike เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายโปรตีนนั้นจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไป 
  • DNA Vaccine หรือ mRNA Vaccine คือการสร้างสายพันธุกรรมที่เป็น DNA หรือ mRNA โดยให้มีการถอดรหัสและแปลรหัสพันธุกรรมไปเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เมื่อฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกายแล้ว เซลล์ของร่างกายจะสร้างโปรตีนตัวนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 แต่ mRNA สลายตัวได้ง่ายจึงต้องเก็บที่อุณหถูมิต่ำมากๆ และยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เคยใช้ในมนุษย์มาก่อน 

ส่วนประกอบของวัคซีนโดยทั่วไปนอกจากส่วนประกอบของไวรัสที่สร้างภูมิคุ้มกันที่เรียกว่าแอนติเจนดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีส่วนประกอบอื่นที่มีส่วนช่วยให้วัคซีนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่

 แอดจูแวนท์ (Adjuvants) ช่วยในการกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี ทำให้วัคซีนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ใช้ในระหว่างขั้นตอนการผลิตเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของแบคทีเรียในเซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ไวรัสเจริญเติบโต โดยในกระบวนการสุดท้ายจะมีสารเหล่านี้ตกค้างอยู่น้อยมาก 

สารกันเสีย (Preservatives) ใช้เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราในวัคซีนบางชนิด 

สารที่ให้ความคงตัว (Stabilizers) เช่น น้ำตาลแลคโตส ซอร์บิทอล และเจลาติน ซึ่งสารเหล่านี้มีหน้าที่ทำให้วัคซีนมีความคงตัวในระหว่างกระบวนการผ่านความร้อน การทำให้แห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze-drying) การขนส่ง และการเก็บรักษา 

หลายประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามรวมถึงประเทศไทยอาจมีความกังวลใจเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 ที่ผลิตออกมาแล้วว่ามีสภาพความเป็นฮาลาลหรือไม่มีส่วนประกอบที่ขัดกับหลักศาสนาอิสลามหรือเปล่า เช่น การใช้เจลาตินสุกรเป้นสารที่ให้ความคงตัวเพื่อรักษาสภาพของวัคซีนหรือไม่นั้น จากข้อมูลของวัคซีนโควิด 19 ของบริษัทต่างๆที่ได้ผลิตออกมาในขณะนี้ ยังไม่มีการรายงานว่ามีวัคซีนชนิดใดที่มีส่วนประกอบของเจลาตินสุกรแต่อย่างใด 

ผู้เขียน

เขียนโดย ดร.พรพิมล  มะหะหมัด

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this