Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

วิทยาศาสตร์ฮาลาลกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้เกิดสังคมเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่าน (Transforming Age) กล่าวคือเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบดั้งเดิมเพื่อเข้าสู่สังคมแห่งข้อมูลสารสนเทศ เศรษฐกิจบนฐานความรู้และนวัตกรรม สังคมข้ามวัฒนธรรม การบริโภคและวัตถุนิยมที่มากขึ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุค Gen Net/tweenies ในศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างมาก การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศความรู้ที่ง่ายและสะดวกสบายกว่าเดิม รวมถึงมีเครื่องมือการเรียนรู้ดิจิทัลที่หลากหลายทำให้สถานการศึกษาทุกระดับมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวทางในการจัดการเรียนรู้อย่างเร่งด่วนเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ดังนั้นผู้เรียนจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) มีทักษะการคิด (Thinking Skills) มีวิธีการแสวงหาความรู้และสร้างความรู้ได้ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยทักษะที่คาดหวังสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 นี้ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ทักษะชีวิตและอาชีพ (life and career skills) ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills) ที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือ (collaboration) ในการทำงานเป็นทีม และการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ในปัญหาที่ซับซ้อน

แนวคิดการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นความรู้ไปสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมนั้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้ เช่น ผู้เรียน ผู้สอน กลยุทธ์การสอน การประเมินผล สภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น ความท้าทายจึงเกิดขึ้นสำหรับการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ที่ต้องอาศัยองค์ประกอบดังกล่าวเพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ศาสตร์ที่แตกต่างกันอย่างวิทยาศาสตร์ฮาลาลที่เน้นดุลยภาพในทุกด้านทั้งร่างกาย สังคม จิตวิญญาณ และสติปัญญา แนวทางหนึ่งในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจและทักษะคือ การออกแบบการเรียนที่เชื่อมโยงหรือการบูรณาการองค์ความรู้กับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเน้นการได้รับประสบการณ์ตรงของผู้เรียนจากสถานการณ์หรือกิจกรรมที่ได้ออกแบบไว้ วิธีนี้เป็นการบูรณาการความสัมพันธ์เพื่อเชื่อมโยงจากหนึ่งประสบการณ์ไปยังความรู้จากหลากหลายเนื้อหาโดยไม่ได้แยกส่วนองค์ความรู้ ยกตัวอย่างเช่น มุสลิมมีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับหลักคำสอนของศาสนาทั้งการกระทำ อุปโภคและบริโภคที่ฮาลาลอยู่แล้ว หรือการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่นการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนสิ่งต้องห้ามทางศาสนาทางห้องปฏิบัติการเพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการตรวจสอบและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ สิ่งเหล่านี้จึงทำให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ด้านฮาลาลด้วยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมที่สามารถอธิบายหลักการและเหตุผลได้ ส่งผลทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ สัมผัสประสบการณ์จริง และเชื่อมั่นในสิ่งที่ได้เรียนรู้มากยิ่งขึ้น 

ด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดตั้งเป็นแห่งแรกของโลก มีประสบการณ์ด้านฮาลาลมาอย่างยาวนาน จึงได้เน้นการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยในรายวิชาหรือหลักสูตรต่างๆ เน้นกิจกรรมเพื่อให้เกิดทักษะในกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สิ่งต้องห้ามและต้องสงสัย การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ฮาลาลจากห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลแห่งแรกของโลก การศึกษาดูงานในสถานที่เกี่ยวข้องผลิตอาหารฮาลาล นอกจากนี้ยังยกระดับพัฒนาการเรียนรู้บนแพลตฟอร์มออนไลน์เรียกว่า Massive Open Online Courses (MOOC) และบนแพลตฟอร์ม SkillLane เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและขยายโอกาสการศึกษาให้กับทุกคน 

การเรียนรู้ในอดีต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ใช้หนังสือเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ใช้ห้องเรียนเป็นโลก ใช้โลกเป็นห้องเรียน
เน้นฟังคนอื่นพูดและเรียนรู้ตามชั้นตามวัย เน้นการตั้งคำถามและเรียนรู้เพื่อพัฒนาต่อเนื่อง
มุ่งสำเร็จการศึกษา และยึดกรอบของเวลาเป็นหลัก มุ่งเรียนรู้ตลอดชีวิต และยึดผลลัพธ์หรือทักษะเป็นหลัก
เน้นทดสอบตามมาตรฐาน เน้นการท่องจำ เน้นประเมินการปฏิบัติ เน้นการแก้ปัญหา

ผู้เขียน

เขียนโดย ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ

อ้างอิง …

21st Century Skills for CMU Faculty Development 2014

A Direction of Educational Management in the 21st Century, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 2017

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การสังเคราะห์กลยุทธ์การสอนของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหลักสูตรบูรณาการในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และแนวทางการนำไปใช้สำหรับบริบทโรงเรียนชายแดนภาคใต้ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), 2563

อ่านทั้งหมด

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this