Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

แนวทางปฏิบัติตัวป้องกันโควิด-19 ในช่วงเดือนรอมฏอน

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

ในช่วงนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ยังอยู่ในช่วงการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ จึงได้แนะนำแนวทางการปฏิบัติตัวในช่วงการถือศีลอดของพี่น้องมุสลิม เพื่อสร้างภูมิต้านทานโรคตลอดเดือนรอมฎอน 

 

มาถือศีลอดเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานโรคกันเถอะ 

เวลานี้มาตรการสร้างระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) กำลังเข้มข้นโดยให้แต่ละคนอยู่ห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 2 เมตร หลายประเทศจัดหนักกว่านี้โดยห้ามการออกนอกบ้านกันไปเลย ทั้งหมดนี้เพื่อลดอัตราเร็วของการติดเชื้อของโรคโควิด-19 ลงให้ได้ เพราะคนนี่เองที่เป็นพาหะพาเชื้อแพร่กระจายออกไป เมื่อให้คนหยุดเชื้อย่อมแพร่ต่อไม่ได้ คิดกันง่ายๆ อย่างนั้น โดยวงการแพทย์ยอมรับว่านี่คือวิธีที่ได้ผลที่สุด ประสิทธิภาพรองลงมาคือการป้องกันพื้นที่ T-zone บริเวณใบหน้า ได้แก่ ดวงตาสองข้าง จมูกและปากซึ่งเป็นพื้นที่รับเชื้อด้วยการสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง อีกวิธีหนึ่งที่สำคัญมากคือการล้างมืออย่างถูกต้องให้บ่อย

นอกจากการป้องกันตนเองทั้งสร้างระยะห่างจากคนอื่นก็แล้ว สวมหน้ากากอนามัยก็แล้ว ล้างมือก็แล้ว แต่โรคก็ยังแพร่อย่างหนักแทบไม่ลดราวาศอกลงเลยอย่างในสหรัฐอเมริกา อิตาลี หรือแม้กระทั่งมาเลเซีย วงการแพทย์พบว่าจุดอ่อนอยู่ที่คนนั่นเอง ปัญหาในสหรัฐอเมริกาหรือแม้กระทั่งมาเลเซียคือคนอ้วนมีมากเกินไป ส่วนในอิตาลีเป็นปัญหาของผู้สูงอายุและโรคประจำตัวไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อินสุลินสูง สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยร่วมของทั้งสามสังคมคือภูมิคุ้มกันโรคที่ต่ำลงเมื่ออ้วน หรือเมื่อเข้าวัยชรา หรือเมื่อมีโรคแทรกซ้อน การเพิ่มภูมิต้านทานโรคจึงเป็นทางเลือกที่ควรต้องส่งเสริมในช่วงเวลานี้

การถือศีลอดหรืออดอาหารมีอยู่หลายวิธี จะขอนำเสนอการถือศีลอดแบบอิสลามให้กับพวกเรา ส่วนใครจะใช้วิธีการอดอาหารช่วงสั้นๆ แบบ IF หรือ Intermittent Fasting ก็ไม่เป็นปัญหา วิธีการถือศีลอดแบบอิสลามโดยรับประทานอาหารมื้อแรกก่อนแสงตะวันขึ้นซึ่งคือเวลา 5.00 น. สำหรับกรุงเทพฯ อดอาหารอดน้ำทุกอย่างไปจนถึงเวลาดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าซึ่งเป็นเวลา 18.30 น.โดยประมาณ รับประทานอีกหนึ่งมื้อโดยไม่มีมื้ออื่นหลังจากนั้น นอกจากอดอาหารแล้วยังควรลดอาหารต่อวันลงให้ได้พร้อมกันไปด้วย

การอดอาหารเช่นนี้มีงานวิจัยจำนวนมากยืนยันว่าช่วยเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย งานการศึกษาของ Cignarella F. และคณะตีพิมพ์ในวารสาร Cell Metabolism ค.ศ. 2018 พบว่าการอดอาหารลักษณะนี้ช่วยทำให้สมดุลภูมิคุ้มกันในร่างกายดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแบคทีเรียในทางเดินอาหารปรับตัวสร้างภูมิคุ้มกันมากขึ้นส่งอานิสงค์ให้กับมนุษย์ที่เป็นที่อาศัยของแบคทีเรียเหล่านี้ Secor SM และ Carey HV เขียนรายงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Compr Physiol ค.ศ. 2016 ว่าการอดอาหารกระตุ้นให้ร่างกายปรับกลไกเพื่อความอยู่รอด โดยหนึ่งในนั้นคือการเพิ่มภูมิต้านทานโรค ดังนั้นในช่วงที่ต้องกักกันตนเองไว้กับบ้านจึงขอแนะนำให้ถือศีลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถือศีลอดในเดือนชะอฺบานหรือเดือน 8 ตามปฏิทินอิสลามซึ่งก็คือช่วงเวลามี่ผ่านมา

นอกเหนือจากนี้ Social Distancing ถือเป็นโอกาสดีสำหรับการละหมาดเพื่อสุขภาพ ช่วงที่ทุกคนถูกกักตัวอยู่แต่ในบ้าน ไปไหนมาไหนไม่ได้ตามมาตรการสร้างระยะห่างทางสังคม เสียงหนึ่งที่บ่นกันมากคือไม่รู้จะออกกำลังกายเพื่อสร้างภูมิต้านทานโรคกันอย่างไร ในที่นี้ขอเสนอเฉพาะมุสลิมคือ การละหมาด ที่มีข้อมูลยืนยันว่าช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคได้ โดยละหมาดในที่นี้เป็นการละหมาดตามแนวทางของท่านศาสดา มุฮัมมัด ซอลลัลลอฮุอะลัยฮวะซัลลัม ลองมาดูกัน

ดูงานวิจัยกันก่อน ดร.โจลี บุคสแปน (Jolie Bookspan) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายชาวอเมริกัน เขียนในวารสาร Healthline.com เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 ไว้น่าสนใจว่าคนอเมริกันจำนวนไม่น้อยเมื่อนั่งบนพื้นไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้แม้ใช้มือช่วยพยุงก็ตามแสดงถึงความอ่อนแอของกล้ามเนื้อขาและข้อเข่า แก้ไขได้โดยฝึกลุกขึ้นยืนจากท่านั่งบนพื้นทุกวัน เธอพบว่าในอิสลามมีการฝึกปฏิบัติเพื่อลุกขึ้นยืนผ่านการละหมาดทุกวันอย่างน้อยวันละ 5 ครั้ง การละหมาดจึงนับเป็นการออกกำลังกายทางเลือกที่สมควรแนะนำ

ดร.ฆาซัล กัมรัน (Ghazal Kamran) นักกายภาพบำบัดแห่งโรงพยาบาล Al Ain สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รายงานไว้ในวารสาร J Nov Physiother Rehabil ฉบับ 2 หน้าที่ 43 – 53 ค.ศ. 2018 ว่าการละหมาดในอิสลามมี 5 เวลา แต่ละเวลาประกอบด้วย 2-4 รอกะอัต (Rak’ah) หรือรอบโดยใช้เวลารอบละ 3-12 นาที ในแต่ละรอกะอัตประกอบด้วย 7-9 ท่า มีตั้งแต่ยืนตรง ยกมือเสมอหู (Takbir) ยืนกอดอก (Qayyam) โค้ง (Ruku) ยืดตัวตรง หมอบกราบ (Sujud) นั่งทับส้นเท้า (Tashahud) ลุกขึ้นยืนจากท่านั่งรวม 17 รอกะอัตต่อวัน นอกจากนี้ศาสดานบีมูฮำมัด (ซ.ล.) ยังเพิ่มการละหมาดเป็น 29-50 รอกะอัตต่อวัน

การละหมาดภาคบังคับ (ฟัรฎู) มี 17 รอกะอัตต่อวัน คือ 2 ก่อนเช้า (ซุบฮิ) 4 เที่ยง (ดุฮฺริ) 4 บ่าย (อัสริ) 3 เย็น (มัฆริบ) และ 4 ค่ำ (อิชา) ท่านศาสดายังละหมาดที่ไม่บังคับอันเกี่ยวเนื่องกับการละหมาดบังคับ (สุนนะฮฺรอวาติบ) อีก 12 รอกะอัต คือ 2 ก่อนซุบฮิ 4 ก่อนดุฮฺริ 2 หลังดุฮฺริ 2 หลังมัฆริบ 2 หลังอิชา รวมเป็น 29 รอกะอัต ละหมาดไม่บังคับแบบสมัครใจ (สุนนะฮฺนัฟลฺ) อีก 10 รอกะอัต คือ 4 หลังดุฮฺริ 2 ก่อนอัสริ 2 ก่อนมัฆริบ 2 ก่อนอิชารวมเป็น 39 รอกะอัตต่อวัน ในหลายกรณีท่านยังละหมาดไม่บังคับแบบสมัครใจชนิดนอกเวลาอีกคือ 2 ยามสาย (ดุฮา) 8 ยามค่ำคืน (กิยามุลลัยลฺ) และ 1 ละหมาดคี่ (วิตรฺ) รวมทั้งสิ้น 50 รอกะอัต ดร.จาเซ็ม รอมฎอน อัลคันดารี (Jasem Ramadan Alkandari) มหาวิทยาลัยคูเวต พบว่าการละหมาดใช้พลังงานโดยเฉลี่ย 4.71 กิโลแคลอรีต่อรอกะอัต ละหมาด 29-50 รอกะอัตใช้พลังงาน 136.6-235.5 กิโลแคลอรีเท่ากับการออกกำลังกายแบบแอโรบิกขนาดกลางนาน 17-30 นาที การละหมาดให้ข้อดีโดยกระจายการใช้พลังงานไปตลอดวัน ขณะที่การออกกำลังกายแบบแอโรบิกเน้นไปที่การทำงานของปอดและหัวใจ การละหมาดใช้พลังงานทั้งร่างกายร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น แถมยังให้ประโยชน์ทางด้านจิตใจจากการตั้งสมาธิเพิ่มเติมเข้าไปอีก นี่คือประโยชน์เต็มๆของการละหมาด ลองฝึกกันดู ได้ทำแล้วจะติดใจจนต้องทำกันตลอด

ผู้เขียน

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this