Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

เทคนิคการตรวจวิเคราะห์แหล่งที่มาของเจลาตินในตัวอย่างอาหาร

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

เจลาตินเป็นโปรตีนที่ได้จากการย่อยสลายคอลลาเจนจากสัตว์ด้วยกรดหรือด่าง นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเช่น โยเกิร์ต ขนมลูกกวาด มาร์ชเมลโลว์ ไอศกรีม ฯลฯ มีคุณสมบัติใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดเจล สารให้เกิดความคงตัว สารอิมัลซิไฟเออร์ เป็นต้น [1] โดยทั่วไปแล้วเจลาตินที่ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารจะได้มาจากสุกรและวัว ซึ่งเจลาตินจากวัวเป็นที่อนุมัติสำหรับผู้บริโภคมุสลิม แต่วัวที่ใช้ผลิตเจลาตินนั้นต้องผ่านการเชือดตามหลักศาสนาบัญญัติอิสลาม อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยหลายงานแสดงให้เห็นว่าเจลาตินที่ได้จากสุกรมีคุณสมบัติที่ดีกว่าเจลาตินจากวัวในหลายๆด้าน เช่นมีความแข็งแรงมากกว่า มีจุดหลอมเหลวที่สูงกว่าและที่สำคัญมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ด้วยเหตุผลนี้จึงนำไปสู่การปนเปื้อนเจลาตินจากสุกรในผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล 

วันนี้ทางผู้เขียนจึงอยากจะอัพเดตงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการตรวจวิเคราะห์แหล่งที่มาของ  เจลาตินในตัวอย่างอาหารให้ผู้อ่านได้ทราบกัน ซึ่งได้เลือกมา 2 เทคนิค ได้แก่เทคนิคทางโครมาโตกราฟี ในงานวิจัยต่างๆ จะเน้นการตรวจวัดหาโปรตีน นิยมใช้เครื่อง LC-MS/MS เพื่อวิเคราะห์หาเปปไทด์เป้าหมาย (peptide markers) ของสุกรและวัว รวมถึงสัตว์อื่นๆที่สนใจ นำผลที่ได้มาเทียบกับฐานข้อมูลและใช้โปรแกรมทางสถิติในการประมวลผล ซึ่งให้ผลการวิเคราะห์ที่ดีและแม่นยำ สามารถระบุแหล่งที่มาของเจลาตินในอาหารได้ [2]  อีกเทคนิคที่จะกล่าวถึงคือเทคนิคทางดีเอ็นเอ นิยมใช้เครื่อง Real time PCR โดยจะออกแบบไพรเมอร์ที่เฉพาะเจาะจงต่อสัตว์เป้าหมาย เช่น สุกร วัว  จากนั้นนำตัวอย่างอาหารที่ต้องการวิเคราะห์ไปสกัดดีเอ็นเอ และนำไปเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอด้วยไพรเมอร์ที่ออกแบบไว้ ซึ่งเทคนิคทางดีเอ็นเอนั้นก็ให้ผลวิเคราะห์ที่รวดเร็ว แม่นยำ มีความจำเพาะเจาะจงสูง [3]  แต่อย่างไรก็ตามการพิจารณาเลือกใช้แต่ละเทคนิคนั้นขึ้นกับตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์รวมถึงต้นทุนที่ใช้ด้วย เพราะกระบวนการผลิตอาหารแต่ละประเภทนั้นส่งผลต่อวิธีการเตรียมตัวอย่างและการวิเคราะห์ผลการทดลองที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่นอาหารที่ผ่านความร้อนสูง แนะนำให้ใช้วิธีทางดีเอ็นเอ เป็นต้น 

 

ผู้เขียน

เขียนโดย อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์

Compiled by Mr.Arnat Denyingyhot
อ้างอิง …

[1] Rohman, A., Windarsih, A., Erwanto, Y., & Zakaria, Z. (2020). Review on analytical methods for analysis of porcine gelatine in food and pharmaceutical products for halal authentication. Trends in Food Science & Technology, 101, 122-132. 

[2]  Sha, X.-M., Zhang, L.-J., Tu, Z.-C., Zhang, L.-Z., Hu, Z.-Z., Li, Z., Li, X., Huang, T., Wang, H., Zhang, L., & Xiao, H. (2018). The identification of three mammalian gelatins by liquid chromatography-high resolution mass spectrometry. Lwt, 89, 74-86. 

[3]  Sultana, S., Hossain, M. A. M., Zaidul, I. S. M., & Ali, M. E. (2018). Multiplex PCR to discriminate  bovine, porcine, and fish DNA in gelatin and confectionery products. Lwt, 92, 169-176.

อ่านทั้งหมด

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this