Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Covid-19 กับจุลินทรีย์ในลำไส้

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

เป็นที่ทราบกันดีว่า COVID-19 เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน  แต่ไม่เพียงแค่ระบบทางเดินหายใจเท่านั้น โควิดยังมีความสัมพันธ์กับระบบทางเดินอาหารด้วย โดยผ่านทางการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้ แล้วมันเกี่ยวกันอย่างไร?

จุลินทรีย์ในลำไส้นอกจากจะมีบทบาทในการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแล้ว ยังมีความเกี่ยวข้องกับความไวในการติดเชื้อไวรัสที่ปอดด้วย ในขณะเดียวกันการติดเชื้อไวรัสที่ปอดก็ส่งผลต่อองค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้[1] เชื้อโควิดหรือ SARS-CoV-2 นอกจากจะสามารถพบได้ทั้งที่โพรงจมูกแล้วยังพบได้ในระบบทางเดินอาหาร และอุจจาระ ของผู้ป่วยโควิดด้วย [2] ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อดังกล่าว เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะไปเกาะกับตัวรับที่ชื่อ ACE2  ซึ่งมีอยู่ในหลายๆ อวัยวะ รวมถึงระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร [3] การที่เชื้อไปจับกับตัวรับดังกล่าวทำให้การทำงานของตัวรับนั้นบกพร่องไป ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลของระบบภูมิคุมกันและการเกิดภาวะเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ (Dysbiosis) [4] มีงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโควิดมีการลดลงของจุลินทรีย์ตัวดีในลำไส้ลดลง เช่น  Lactobacillus และ Bifidobacterium [5] ผลที่ตามมาคือร่างกายจะติดเชื้อหรือถูกโจมตีจากจุลินทรีย์ก่อโรคได้มากขึ้น และมีการเพิ่มขึ้นของจุลินทรีย์ก่อโรคในลำไส้ ส่งผลต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในภาวะโควิด เช่น ทำให้เกิดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ (proinflammatory cytokines) เช่น IFN-γ และ TNF-α  [1] อีกรายงานหนึ่งพบว่าจุลินทรีย์ก่อโรคในลำไส้ เช่น  Escherichia coli และ Klebsiella pneumoniae มีจำนวนเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโควิดในภาวะวิกฤต และยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรุนแรงของโรคและโอกาสในการเสียชีวิตด้วย นี่เป็นประเด็นที่น่าสนใจ [6] 

โพรไบโอติกส์ คือจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพเมื่อรับประทานในปริมาณที่เพียงพอ [7]. จุลินทรีย์เหล่านี้ก็เป็นกลุ่มเดียวกับจุลินทรีย์ตัวดีที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์เรานั่นเอง ด้วยสมบัติในการต้านจุลินทรีย์ก่อโรค เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ โพรไบโอติกส์จึงเป็นที่สนใจในการนำมาเป็นโภชนาการเสริมในผู้ป่วยโควิด เพื่อปรับให้จุลินทรีย์ในลำไส้ให้เกิดความสมดุล ทั้งนี้มีการศึกษาทางคลินิกพบว่าการทานโพรไบโอติกส์บางชนิดช่วยป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรียและไวรัสในระบบทางเดินหายใจได้ และการใช้ในผู้ป่วยวิกฤติยังพบว่าช่วยลดโอกาสของการเกิดปอดอักเสบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจ (ventilator-associated pneumonia) ด้วย อย่างไรก็ตามยังไม่มีงานวิจัยที่รายงานเรื่องผลของการให้โพรไบโอติกส์ในผู้ป่วยโควิด ต้องติดตามกันต่อไป แต่ถ้าเราอยากเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกายไว้เตรียมพร้อมรับมือต่อโรคภัย การรับประทานอาหารที่โพรไบโอติกส์เป็นประจำก็เป็นอีกทางหนึ่ง

รูปภาพ แสดงกลไกของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่อยู่ในภาวะสมดุล (healthy gut microbiota) ในการควบคุมการติดเชื้อ SARS-CoV-2 โดยการผลิตเซลล์ภูมิคุ้มกันเป็นจำนวนมาก แต่หากจุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล (dysbiosis gut microbiota) จะผลิตเซลล์ภูมิคุ้มกันได้เพียงจำนวนน้อย [10]

 

 

ผู้เขียน

เขียนโดย นางสาวมาริสา มารแพ้

อ้างอิง …

[1] van der Lelie, D., & Taghavi, S. (2020). COVID-19 and the gut microbiome: More than a gut feeling. mSystems. 5 (4).

[2] Lin, L., Jiang, X., Zhang, Z., Huang, S., Zhang, Z., Fang, Z., . . . Shan, H. (2020). Gastrointestinal symptoms of 95 cases with SARS-CoV-2 infection. Gut. 69 (6), 997.

[3] Roncon, L., Zuin, M., Rigatelli, G., & Zuliani, G. (2020). Diabetic patients with COVID-19 infection are at higher risk of ICU admission and poor short-term outcome. journal of clinical virology. 127, 104354.

[4] Chhibber-Goel, J., Gopinathan, S., & Sharma, A. (2021). Interplay between severities of COVID-19 and the gut microbiome: implications of bacterial co-infections? Gut Pathogens. 13 (1), 14.

[5] Weaver, L., Minichino, D., Biswas, C., Chu, N., Lee, J.-J., Bittinger, K., . . . Behrens, E. (2019). Microbiota-dependent signals are required to sustain TLR-mediated immune responses. JCI insight. 4 (1).

[6] Tang, L., Gu, S., Gong, Y., Li, B., Lu, H., Li, Q., . . . Li, L. (2020). Clinical Significance of the correlation between changes in the major intestinal bacteria species and COVID-19 severity. Engineering. 6 (10), 1178-1184.

[7] FAO/WHO. (2006). Probiotics in food health and nutritional properties and guidelines for evaluation. FAO food and nutrition paper. 85, 1–56. Retrieved 11 October, 2020, from http://www.fao.org/3/a0512e/a0512e.pdf

[8] Baud, D., Dimopoulou Agri, V., Gibson, G. R., Reid, G., & Giannoni, E. (2020). Using Probiotics to flatten the curve of coronavirus disease COVID-2019 Pandemic. Frontiers in public health. 8, 186-186.

[9] Bo, L., Li, J., Tao, T., Bai, Y., Ye, X., Hotchkiss, R. S., . . . Deng, X. (2014). Probiotics for preventing ventilator-associated pneumonia. The Cochrane Database of Systematic Reviews. 10 (10), Cd009066.

[10] Rajput, S., Paliwal, D., Naithani, M., Kothari, A., Meena, K., & Rana, S. (2021). COVID-19 and gut microbiota: a potential connection. Indian journal of clinical biochemistry, 1-12.

อ่านทั้งหมด

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this