Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

ความสนใจของมุสลิมกับสภาพฮาลาลของวัคซีนโควิด-19

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่านครับ คอลัมน์ Halal Talk ในฉบับนี้ ผู้เขียนได้ถอดบทสัมภาษณ์ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในประเด็นเรื่อง “วัคซีน Covid-19 ฮาลาลหรือไม่” โดยมีอาจารย์สมาน งานโขนง เป็นพิธีกรสัมภาษณ์ครับ
อาจารย์สมาน : อัสลามมูอาลัยกุมครับอาจารย์ ตอนนี้ก็จะเริ่มเข้าสู่เดือนรอมฎอนแล้วนะครับอาจารย์ 

รศ.ดร.วินัย : มีความสุขทุกครั้งครับ ที่เข้าสู่เดือนรอมฎอน เราก็ยังคงอยู่ COVID-19 อยู่นะครับ

อาจารย์สมาน : อาจารย์ครับ หลายคนมีความสงสัยหรือมีนัยยะอย่างไร อะไรคือความแตกต่างระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบแรกและรอบสองครับ?

รศ.ดร.วินัย : อันที่จริงแล้วหลายประเทศเรียกกันว่าการระบาดรอบ 2 แต่เชื้อที่เกิดการระบาดคือเชื้อตัวใหม่ ซึ่งมันเป็นเชื้อคนละตัวกัน โดยเชื้อมีการเปลี่ยนแปลงไป เลยกลายเป็นการระบาดของเชื้อรอบใหม่ของเชื้อตัวใหม่ครับ ไม่อยากให้เรียกว่ารอบ 2 ซึ่งมันก็เป็นธรรมชาติของการระบาดในรอบใหม่มักจะรุนแรงกว่ารอบแรก ในทางจิตวิทยานั้น เวลาเจอปัญหารอบแรก คนเรามักจะระวังตัว ถ้าดูจากสถานการณ์ของการติดเชื้อของคนไทยในปัจจุบันแล้ว พบการติดเชื้อที่ค่อนข้างสูง แตกต่างกับรอบใหม่มากที่พบจำนวนผู้ติดเชื้อจากการออกสำรวจเชิงรุกในกลุ่มของแรงงานต่างประเทศ ด้วยลักษณะนิสัยของคนไทย การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อค่อนข้างดี ทำให้เกิดการชื่นชมที่ดีจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่การระบาดยังคงเป็นปัญหาในกลุ่มวงเหล้า กลุ่มวงการพนัน ซึ่งมันก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ทำให้การระบาดรอบใหม่ยังคงเรื้อรัง ประโยคที่ว่า “ถ้ารู้สึกว่าปลอดภัย คืออันตราย” จากการระบาดของรอบแรกรู้สึกอันตราย คนเราเลยรู้สึกว่าต้องป้องกัน แต่เมื่อเกิดการระบาดของรอบใหม่ขึ้น เรารู้สึกว่าปลอดภัยกว่ารอบแรก ทำให้การป้องกันตรงนี้ลดลงไป จึงอันตรายได้ 

ในปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านมียอดของผู้ติดเชื้อทะยานพุ่งสูงขึ้นมาก ผมได้ไปพูดคุยประเด็นเรื่องวัคซีนและสถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีวิทยากรหลายท่านจากหลายสถาบันแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป ซึ่งในความเห็นของผม “เมื่อชาวบ้านรู้สึกไม่สบายใจในเชิงศาสนา เราต้องให้เกียรติ และอย่าไปพูดบังคับเขา หากเรารู้สึกว่าปลอดภัย เราต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดให้ได้” 

 

อาจารย์สมาน :  ปัจจุบันวัคซีน เริ่มมีการผลิตและใช้อย่างเป็นทางการ อยากทราบว่ามันสามารถใช้ได้และเหมาะสมหรือไม่ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง?  

รศ.ดร.วินัย : หลายคนเข้าใจว่าวัคซีนคือยา จริงๆ แล้วไม่ใช่ ยาที่เรากินเข้าไปจะต้องเข้าไปรักษาอวัยวะในร่างกาย แต่วัคซีนมันไม่ใช่ยา เมื่อฉีดเข้าไปแล้วจะเข้าไปกระตุ้นตัวยาในร่างกายเรา สิ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ.) สร้างกลไลต่างๆในร่างกายเรานั้นคือ ยา เพราะฉะนั้น สิ่งหนึ่งที่อิสลามบอกชัดเจนในซูเราะห์ อัลอิสเราะห์ อายะห์ที่ 82 “อัลลอฮ์ทรงประทานกุรอ่านลงมาและกุรอ่านจะช่วยเยียวยา การอ่านอัลกุรอ่าน เสมือนการสร้างกำลังใจ เยียวยาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายได้  

ในร่างกายเรามีเซลล์เม็ดเลือดขาวแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม มีอยู่กลุ่มหนึ่ง คือ ลิมโพไซท์เซลล์ B และ T ซึ่งเซลล์ T จะเป็นกลุ่มที่มีหน้าที่ทำลายกลุ่มของเซลล์แบคทีเรีย ในขณะที่กลุ่มของเซลล์ B จะไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกัน และจะไปกระตุ้นเซลล์บางกลุ่มให้สร้างการจดจำ ซึ่งวัคซีนจะไปกระตุ้นการจดจำให้เซลล์เหล่านี้เกิดการทำงาน หากมีการติดเชื้อไวรัสครั้งใหม่ เซลล์เหล่านี้จะสามารถทำลายเซลล์ไวรัสได้โดยไม่ต้องมีการฉีดวัคซีนใหม่อีกครั้ง เราในฐานะนักวิทยาศาสตร์ต้องสามารถพิสูจน์ให้ได้ว่า มันปลอดภัย ต้องทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าปลอดภัย แต่ไม่ควรพูดโดยไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ไม่ได้ ในความเห็นส่วนตัวของผมเอง ถ้าถามว่า ผมจะฉีดหรือไม่นั้น ไม่อาจจะตอบได้ชัด อยู่ที่สถานการณ์ เพราะว่าโรคที่เกิดการระบาดนั้นจะมีความสัมพันธ์กับเรื่องปรากฏการณ์ ภูมิคุ้มกันหมู่หรือ Herd immunity ที่เกิดจากการที่คนส่วนใหญ่เริ่มมีการฉีดวัคซีนมากขึ้น และการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีการป้องกันนั้น ถือว่าปลอดภัย แต่หากพบว่าเราเองอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เสี่ยงมาก ก็จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายครับ ส่วนองค์ประกอบของวัคซีนที่ประชาชนมีความวิตกกังวล คือการใช้เจลาตินจากสุกรในการพัฒนาวัคซีน เพื่อที่จะรักษาสภาพของการทำงานของวัคซีน เช่นเป็นสาร stabilizer จะช่วยให้เชื้อที่ใส่ลงไปผสมในวัคซีนนั้น คงสภาพอยู่ได้อย่างมีศักยภาพ

 

ดร.วินัย ท่านยังกล่าวอีกว่า สิ่งสำคัญคือ ศรัทธา หากเราสามารถพิสูจน์หรือมีหลักฐานอย่างแน่ชัดในเรื่องของวัคซีนว่าฮาลาลสามารถสร้างความสบายใจให้กับผู้บริโภคได้ ก็เป็นสิ่งที่ควรทำมากกว่าบังคับให้ฉีดโดยไม่ได้มีอะไรมารองรับความเชื่อว่าการฉีดวัคซีนมันดีและปลอดภัยเพียงอย่างเดียว 

 

สัมภาษณ์โดย อาจารย์สมาน งามโขนง

เรียบเรียงบทความโดย นายอิรฟัน แวหะมะ 

ผู้เขียน

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this