Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

, , , ,

สารอาหารที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันต้านโรค COVID-19 สำหรับผู้สูงอายุ

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

         สารอาหาร หมายถึงสารที่ได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วนำไปใช้ประโยชน์ตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น สร้างพลังงานในการดำรงชีวิต เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในส่วนต่างๆของร่างกาย สารอาหารตามหลักโภชนาการแบ่งได้เป็น 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน  แล้วสารอาหารชนิดไหนที่สามารถเสริมภูมิคุ้มกันต้านโรคโควิด-19 สำหรับผู้สูงอายุและร่างกายต้องการในปริมาณเท่าไรจึงจะเหมาะกับช่วงวัยของผู้สูงอายุที่จะสามารถเสริมภูมิคุ้มกันต้านโรคโควิด -19 ได้

ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร เกิดจากอะไร? อันตรายหรือไม่ ดูแลอย่างไร?             เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโรคโควิด-19 ก่อให้เกิดโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้เกิดโรคปอดอักเสบ ซึ่งสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ ผ่านทางน้ำมูกน้ำลาย และเสมหะ [1] ในสถานการณ์ช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะต้องได้รับการดูแล เนื่องจากมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคปอด ทำให้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโรคโควิด-19 ได้ง่าย อาหารช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรงต้านโรคโควิด-19 ได้ สารอาหารชนิดไหนที่สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ผู้สูงอายุ ประเภทที่หนึ่ง คือ โปรตีนจากปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วเมล็ด และน้ำนม เป็นสารภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันการติดเชื้อ ช่วยในการแข็งตัวของเลือด เมนูไก่ผัดขิง ต้มส้มปลาทู ปริมาณต้องการต่อวันในผู้ชายและผู้หญิง 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ประเภทที่สอง วิตามินเอจากสัตว์ ตับสัตว์ เนื้อสัตว์ ไข่ จากพืช พบได้ในผักใบสีเขียว ผักและผลไม้สีเหลือง เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง ประโยชน์ช่วยในการมองเห็น บำรุงรักษา เจริญเติบโตของเซลล์ในเนื้อเยื่อ เมนูผัดฟักทองใส่ไข่ ผักบุ้งลวก ปริมาณต้องการต่อวัน ผู้ชาย 700 ไมโครกรัม และผู้หญิง 600 ไมโครกรัม ประเภทที่สาม วิตามินซีจากผักและผลไม้  ฝรั่ง มะละกอ ผักคะน้า บรอกโคลี ประโยชน์เพิ่มภูมิต้านทาน ลดการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ ลดความรุนแรงอาการหวัด เมนูซุปบรอกโคลี สลัดแครอท ปริมาณต้องการต่อวัน ผู้ชาย 100 มิลลิกรัม และผู้หญิง 85 มิลลิกรัม ประเภทที่สี่ วิตามินดี ร้อยละ 10-20 จากสารอาหารและการกินหรือยาเสริม ประโยชน์ช่วยควบคุมการเจริญเติบโต มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยกลไกในการลดการติดเชื้อ ช่วยปกป้องระบบทางเดินหายใจ ปริมาณต้องการต่อวัน ผู้ชายและหญิง 20 ไมโครกรัม ประเภทที่ห้า วิตามินอีจากน้ำมันพืช น้ำมันทานตะวัน ประโยชน์ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณต้องการต่อวัน ผู้ชาย 13 มิลลิกรัม และผู้หญิง 11 มิลลิกรัม ประเภทที่หก สังกะสีจากเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ สัตว์น้ำมีเปลือก สร้างภูมิคุ้มกันจากโรคติดเชื้อ ปริมาณต้องการต่อวัน ผู้ชาย 11 มิลลิกรัม และผู้หญิง 9 มิลลิกรัม และประเภทที่เจ็ด ซิลีเนียมจากอาหารทะเล เนื้อปลา ไข่ ช่วยฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานปกติ ต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็ง เมนูต้มยำปลาทู ไข่ต้ม และปริมาณต้องการต่อวัน ผู้ชายและหญิง 55 ไมโครกรัม [2,3,4] 

 

        อาหารและโภชนาการจึงจำเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดโรคโควิด-19 [5] สำหรับผู้บริโภคผู้สูงอายุนั้นควรเลือกบริโภคอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ช่วยเสริมภูมต้านทานได้ดี หรือโปรตีนจากพืช หรือผักใบเขียวเข้ม ผักผลไม้สีเหลือง สีส้ม นับเป็นแหล่งวิตามินที่ช่วยเสริมภูมิต้านทานได้ดี  และอาหารที่มีปริมาณสังกะสีสูง ได้แก่ อาหารทะเล ถ้าร่างกายเราได้รับสารอาหารจำพวกนี้ในปริมาณที่เพียงพอ และมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทำให้ร่างการสามารถสร้างภูมิต้านทานที่แข็งแรงมากพอที่จะต้านเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโรคโควิด-19 ได้

ผู้เขียน

เขียนโดย นายฮาซัม เจะบากอ

Compiled by Hasam Chebako
อ้างอิง …

[1] Panyod S, Ho CT, Sheen LY. Dietary therapy and herbal medicine for COVID-19 prevention: A review and perspertive. J Tradit Complement Med 2020.

[2] กลุ่มส่งเสริมโภชนาการผู้สูงอายุ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2563). อาหารเสริมภูมิคุ้มกันต้าน COVID-19 สำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ) จำกัด

[3] คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย (2563). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี.โปรเกรสซีฟ.

[4] สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2561). ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

[5] รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน (2564, 16 กุมภาพันธ์) เฟสบุ๊คแฟนเพจ: โภชนาการเสริมภูมิต้านทานโควิด-19 สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 จาก https://www.facebook.com/drwinaidahlan

อ่านทั้งหมด

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this