Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

เทคโนโลยีดีเอ็นเอกับการตรวจสอบการปลอมปนเนื้อสัตว์

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

การปลอมปนอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลอมปนเนื้อสัตว์ราคาถูกในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่มีราคาแพงเพื่อต้องการลดต้นทุนและหวังผลกำไรทางธุรกิจยังคงพบอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน [1] ประกอบกับความซับซ้อนของกระบวนการผลิตอาหารทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เนื้อสัตว์ถูกแปรรูปจนมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจนไม่สามารถระบุชนิดของเนื้อสัตว์นั้นด้วยลักษณะทางกายภาพได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การปลอมปนของเนื้อสัตว์และผลิตจากเนื้อสัตว์ทำได้ง่ายขึ้นและยากต่อการตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบ [2]  ปัญหาการปลอมปนเนื้อสัตว์ดังกล่าวพบในหลายประเทศ เช่นมาเลเซียพบเนื้อวัวถูกปลอมด้วยเนื้อจิงโจ้ อินโดนีเซียพบการปลอมปนเนื้อหนูในลูกชิ้นเนื้อวัว จีนพบการใช้เนื้อหนูในผลิตภัณฑ์จากเนื้อแกะ อังกฤษพบการปนเปื้อนเนื้อม้าในเบอร์เกอร์เนื้อวัว และล่าสุดประเทศไทยพบเนื้อวัวปลอมจากการย้อมสีเนื้อสุกรด้วยเลือดวัวแล้วนำมาขายโดยระบุว่าเป็นเนื้อวัว ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ไม่รับประทานเนื้อสุกรและภาพลักษณ์ขององค์กรด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ดังนั้นการรับรองความถูกต้องของเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้บนฉลากสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อเนื่องจากในบางศาสนาไม่รับประทานเนื้อสัตว์บางชนิดโดยเฉพาะมุสลิมนั้นอาหารที่จะบริโภคนั้นจะต้องปราศจากการปนเปื้อนจากเนื้อสัตว์ต้องห้ามตามมาตรฐานฮาลาล [3] 

 ปัจจุบันมีเทคนิคที่นำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจวัดการปนเปื้อนหรือบ่งชี้ชนิดของสัตว์ในอาหาร [4]   เช่น Spectroscopy ,Near-infrared spectroscopy (NIRS), Fourier transform infrared spectroscopy (FT-IR), Chromatography , Immunoassays , Polymerase chain reaction (PCR), Real-time PCR , Digital PCR , High resolution melting analysis (HRMA) และ Biosensors ซึ่งเทคนิคที่ได้รับความนิยมคือเทคนิคทางดีเอ็นเอ เนื่องจากดีเอ็นเอมีความคงทนต่อความร้อนมากและตรวจวัดได้ทั้งในเนื้อดิบหรือเนื้อที่ผ่านความร้อน อีกทั้งมีความไวและมีความจำเพาะสูง[5]  อย่างไรก็ตามงานวิจัยส่วนใหญ่เน้นการตรวจสัตว์ได้ทีละเป้าหมาย ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาเทคนิคที่สามารถตรวจพร้อมกันได้ทีละหลายสปีชีส์ เพื่อความรวดเร็วและลดต้นทุน  สำหรับประเทศไทยโดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ได้พัฒนาเทคนิค multiplex HRMA ซึ่งเป็นเทคนิคทางดีเอ็นเอที่มีความไวสูงสามารถบ่งชี้ชนิดสัตว์ได้พร้อมกันถึง 6 ชนิดภายในการตรวจครั้งเดียวได้แก่ สุกร สุนัข แมว หนู ลิง และ ลา  โดยให้ผลการทดสอบที่แม่นยำ 100% กับตัวอย่างที่ใช้ทดสอบ และปัจจุบันทางผู้วิจัยได้ต่อยอดเทคโนโลยี โดยได้รับงบประมาณวิจัยสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ร่วมกับบริษัท ทาเลโนเมะ ดีเอ็นเอ โปรเฟสเชอนัล จำกัด ได้พัฒนาเทคนิคที่ง่ายขึ้น รวดเร็วและลดต้นทุน สามารถคัดกรองตัวอย่างเบื้องต้นเองให้แก่ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาคศาสนา ก่อนที่จะส่งไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการ โดยพัฒนาเทคนิค multiplex PCR ร่วมกับ DNA strip ในการตรวจสัตว์ต้องห้ามในอาหารฮาลาลพร้อมกัน 5 ชนิด ได้แก่ สุกร สุนัข แมว หนูและลิง สามารถตรวจสอบผลวิเคราะห์ได้ด้วยตาเปล่า ใช้เวลา 15 นาที และใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน 90 นาที เทคนิคดังกล่าวได้รับการทวนสอบโดยนำตัวอย่างอาหารเชิงพาณิชย์จำนวน 375 ตัวอย่างไปประยุกต์ตรวจสอบพบว่าให้ผลที่สอดคล้องกับเทคนิคมาตรฐานของห้องปฎิบัติการ (gold standard) 

ในอนาคตอันใกล้นี้ทางศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล นำทีมโดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ศ.ดร.สุวิมล กีรติพิบูลและคณะผู้วิจัย หวังจะผลักดันให้นวัตกรรมนี้เข้าถึงผู้ใช้ได้ง่ายด้วยการต่อยอดเป็นชุด Test kits แบบครบวงจรของการตรวจวัด ตั้งแต่ขั้นตอนการสกัดดีเอ็นเอ (Extraction) การเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอเป้าหมาย (Amplification) จนถึงตรวจสอบผลวิเคราะห์ (Detection) ซึ่งต้นทุนของ DNA strip อยู่ที่ประมาณ 300 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ถูกกว่าการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ถึง 10 เท่า  ซึ่งเทคนิคที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับควบคุมและประกันคุณภาพอาหารฮาลาลได้  ผู้ผลิตและผู้บริโภคอาหารฮาลาลสามารถมั่นใจได้ว่าจะไม่มีการปนเปื้อนของสัตว์ที่ไม่ฮาลาลในวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหาร อีกทั้งนวัตกรรมนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับขั้นตอนการคัดกรองตัวอย่างเพื่อสนับสนุนการรับรองฮาลาล โดยเฉพาะในประเทศผู้ส่งออกอาหารอย่างประเทศไทย 

ผู้เขียน

เขียนโดย ดร.อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์

Compiled by Dr. Anat Denyingyhot
อ้างอิง …

[1]  Esteki, M., Regueiro, J., & SimalGándara, J. (2019). Tackling fraudsters with global strategies to expose fraud in the food chain. Comprehensive reviews in food science and food safety. 18(2), 425-440. 

[2] Bansal, S., Singh, A., Mangal, M., Mangal, A. K., & Kumar, S. (2017). Food adulteration: Sources, health risks, and detection methods. Critical reviews in food science and nutrition. 57(6), 1174-1189. 

[3] Ali, M. E., Razzak, M. A., Hamid, S. B., Rahman, M. M., Amin, M. A., Rashid, N. R., & Asing. (2015). Multiplex PCR assay for the detection of five meat species forbidden in Islamic foods. Food Chemistry. 177, 214-224. 

[4] Zia, Q., Alawami, M., Mokhtar, N. F. K., Nhari, R. M. H. R., & Hanish, I. (2020). Current analytical methods for porcine identification in meat and meat products. Food chemistry. 324, 126664. 

[5] Karni, M., Zidon, D., Polak, P., Zalevsky, Z., & Shefi, O. (2013). Thermal degradation of DNA. DNA and CELL biology. 32(6), 298-301. 

อ่านทั้งหมด

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this