Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

New Normal หลังยุคโควิด-19 ที่สมควรเกิดในสังคมไทย

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

ปัจจุบันผู้คนพูดถึง “นิวนอร์มอล” (New Normal) กันมาก โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นในยุคและหลังยุคโควิด-19 คำนี้ทางราชบัณฑิตยสภาให้ความหมายไว้ว่าความปกติใหม่ หรือฐานวิถีชีวิตใหม่ ในที่นี้ขอใช้ทับศัพท์ว่านิวนอร์มอลก็แล้วกัน จะใช่การสวมหน้ากากอนามัย การใช้เจลล้างมือหรือการเว้นระยะห่างทางสังคมที่จะเป็นนิวนอร์มอลหรือไม่ นั้นคาดการณ์ได้ยากเนื่องจากไม่มีใครทำนายได้ว่าโรคโควิด-19 จะลากยาวในลักษณะที่เป็นอยู่อีกยาวนานแค่ไหน กว่าจะค้นพบวัคซีน หรือยา หรือวิธีการรักษา อาจยาวนานเป็นปีหรือหลายปี เรื่องนี้ไม่มีใครกล้าฟันธง ผู้เชี่ยวชาญหลายคนไม่เชื่อด้วยซ้ำว่าจะมีนิวนอร์มอลหลังยุคโควิด-19

นิวนอร์มอลนั้นเกิดขึ้นไม่ง่าย ดูที่การสวมหน้ากากอนามัยก็คงเห็น คนไทยทำสถิติสวมหน้ากากอนามัยมากที่สุดในบรรดาชาติอาเซียน แต่ในขณะนี้อาการการ์ดตกของคนในสังคมเริ่มเห็นชัดขึ้นทุกขณะ ช่วงการปลดล็อคดาวน์บางส่วน ร้านอาหาร 2-3 ร้านที่ได้ลองเข้าไปใช้บริการ ทั้งร้านก๋วยเตี๋ยวมุสลิมชื่อดังย่านถนนเจ้าคุณทหาร ร้านโรตีชาย่านสวนหลวงสแควร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พนักงานเสิร์ฟ แคชเชียร์ รวมทั้งคนครัวแทบไม่มีใครสวมหน้ากากอนามัย พนักงานเสิร์ฟพูดคุยกับลูกค้าคร่อมจานอาหารโดยเปิดปากจมูกในขณะที่ลูกค้าไม่แสดงปฏิกิริยาว่าตนอาจไม่ได้รับความปลอดภัย นี่คือตัวอย่างอาการการ์ดตกในสังคมไทยที่อาจนำไปสู่การระบาดระลอกสองที่เชื่อกันว่าจะรุนแรงกว่าเก่า

นิวนอร์มอลแม้ยังคาดการณ์ไม่ได้ ทว่าในเชิงความต้องการ เห็นว่าควรจะมี อย่างเรื่องการประชุมออนไลน์หรือการทำงานจากบ้านที่เกิดขึ้นในยุคโควิด-19 ได้สร้างทางเลือกใหม่ให้เกิดขึ้น ได้มีโอกาสบรรยายออนไลน์ในงาน Webinar (Web+Seminar) กับนักวิชาการจากประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย รวมทั้งเตรียมการประชุม Webinar กับนักวิชาการในยุโรปและสหรัฐอเมริกาโดยคุณภาพการประชุมไม่ต่างจากการประชุมออฟไลน์ในระบบปกติเลย ข้อดีคือมีการนำเสนอความเห็นมากขึ้น ขณะเดียวกันทีมงานศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) เตรียมงาน Webexpo (Web+Expo) หรืองานแสดงสินค้าผ่านระบบออนไลน์ งานลักษณะนี้ประหยัดทั้งงบประมาณ ทั้งเวลาการเดินทาง สิ่งที่ต้องทำคือ การพัฒนาแพลตฟอร์มด้านธุรกิจซึ่ง ศวฮ. อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ชื่อ SPHERE ใกล้สำเร็จแล้ว

นอกจากเรื่อง Webinar และ WebExpo ยังมีงานออนไลน์อื่น ๆ ที่เชื่อมั่นว่าจะกลายเป็นนิวนอร์มอลทั้งในยุคโควิด-19 หรือหลังยุคโควิด-19 นั่นคือการเติบโตของโลกดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของธุรกิจหรือวิชาการ การเรียนการสอนหรือการซื้อการขายผ่านระบบออนไลน์ อีกทั้งการให้บริการด้านซัพพลายเชน (Supply chain) ต่อเนื่องจากระบบออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด ทว่าปัญหาคือการเรียนรู้เรื่องระบบดิจิทัลที่เรียกว่า Digital Literacy ยังเป็นไปอย่างจำกัด งานการถ่ายทอดความรู้นี้จะกลายเป็นอีกงานประจำหนึ่งของทีมงาน ศวฮ.ที่จะต้องออกไปให้ความรู้กับผู้คนกลุ่มต่างๆทั้งผู้สูงอายุ เยาวชน ชาวบ้าน งานทั้งหมดที่กล่าวถึงเหล่านี้สมควรจะเป็นนิวนอร์มอลอย่างยิ่ง 

ผู้เขียน

เขียนโดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน

Compiled by Assoc.Prof.Dr.Winai Dahlan

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this