Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

การส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ (Halal Science Education)

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

Halal Insight กับคอลัมน์ Halal Talk ฉบับนี้ เรามาพูดคุยกับ ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ การส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ หรือ Halal Science Education กันครับ

Q : อาจารย์ช่วยอธิบายเรื่องฮาลาล (Halal) และหลักทางด้านวิทยาศาสตร์ (Science) คืออะไร และเข้ามาเกี่ยวข้องกันได้อย่างไรกับประเด็นด้าน Halal Science 

 

A : กับคำถามนี้ คงต้องอธิบายให้เข้าใจเป็นพิเศษเลยครับ ขอแยกเป็น 3 คำ คำว่า Halal เป็นคำภาษาอาหรับ มีปรากฎในคัมภีร์อัลกุรอาน แปลว่า สิ่งที่อนุญาต เช่น อนุญาตให้ทำได้ อนุญาตให้ทานได้ และมีส่วนน้อย ที่ไม่อนุญาต ใช้คำว่า “หะรอม” แปลว่า ห้ามทาน เช่นหมู สัตว์มีเขี้ยว สัตว์มีพิษ และอื่น ๆ เป็นต้น นี่ยังมีรายละเอียดให้ลงลึกได้อีก 

ส่วนคำว่า Science คือ วิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการที่ สามารถพิสูจน์ได้ มีเครื่องไม้ เครื่องมือช่วยให้เราทำงานสะดวก จับต้องได้ เป็นเหตุเป็นผล แม่นยำ ถูกต้อง พิสูจน์ซ้ำได้ ทำซ้ำได้ รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบได้ เมื่อรวม 2 คำแรก เป็น Halal Science จึงกลายเป็นคำใหม่ เป็นวิถีอธิบายและตัดสินหลักการฮาลาลด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ยืนยันให้ได้คำตอบ ในส่วนที่ตามองไม่เห็น จับต้องก็ไม่รู้ ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน ส่วนนี้คือการสร้างความเชื่อมั่น น่าสนใจมากกับการใช้หลักคิดของการทำงานที่เกี่ยวกับการรับรองฮาลาลของไทย คือ “ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ” ได้ทั้งชีวิตจริง และจิตวิญญาณเลยครับ เพื่อให้เครดิตแก่คนไทยครับ คำว่า Halal Science ริเริ่มใช้โดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน เป็นครั้งแรกของโลก ถือว่าท่านคิดคำนี้ขึ้นมา  วันนี้ใช้ทั้งโลกแล้วครับ

Q : ถ้ามารวมกันแล้วคำว่า การศึกษาวิทยาศาสตร์ฮาลาล หรือ Halal Science Education ควรมีความหมายอย่างไรครับ

A : มาถึงคำถามใหญ่ Halal Science Education จึงหมายถึง การจัดระบบการเรียนการสอน เพื่ิอให้เข้าใจ ใช้ประโยชน์ได้ และเพื่อศรัทธาต่อหลักวิชาที่ทันสมัย พัฒนาต่อยอดได้ ทั้งถ่ายทอด และค้นคว้าความรู้ใหม่ทุกระดับครับ

Q : แล้วหลักการฮาลาลกับวิทยาศาสตร์จะบูรณาการการเรียนการสอนอย่างไรได้บ้างครับ

A :  เรื่องนี้ ขอแบ่งเป็นการสอนสำหรับเด็ก 2 กลุ่ม สำหรับนักเรียนมุสลิมแล้ว จะง่ายกว่าตรงที่ว่าเด็ก ๆ เข้าใจ หลักการฮาลาลแล้ว ครูเพียงนำหลักการวิทยาศาสตร์เข้ามาประยุกต์ อธิบายให้เป็นเหตุเป็นผล เช่น ข้อห้ามกินสัตว์ที่ตายเอง ทั้งนี้เราไม่รู้ว่าตายด้วยสาเหตุอะไร ป่วยตาย มีเชื้อโรคในตัว หรืออาจจะถึงขั้นเกิดการเน่าแล้ว หรือสัตว์ที่ถูกสัตว์มีพิษกัดตาย และต้องใช้วิธีวิทยาศาสตร์พิสูจน์ต่อไปได้ กับนักเรียนที่ไม่ใช่มุสลิม ควรจะอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับที่มาที่ไปของคำว่า ฮาลาล แล้วโยงเข้ากับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะทำได้ง่ายกว่า

เรื่องฮาลาลกับวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องที่เสริมส่งต่อกัน ฮาลาลเป็นคำสั่งทางศาสนา เพื่อประโยชน์ของต่อสุขภาพ วิทยาศาสตร์เป็นวิธีที่ช่วยพิสูจน์และยืนยัน สิ่งที่เป็นประโยชน์ทางอ้อมคือ นักเรียนทุกศาสนา สามารถที่จะโยงคำสอนทางศาสนาให้เป็นวิทยาศาสตร์ได้ จะทำให้ยั่งยืนทั้ง 2 ส่วน

จะเห็นได้ว่า คำว่า วิทยาศาสตร์ฮาลาล ที่เราได้ยินกัน คงไม่ใช่คำใหม่อีกต่อไปแล้ว แต่เป็นคำที่หลายคนคุ้นหู และวิทยาศาสตร์ฮาลาล ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ที่เฉพาะมุสลิมเรียนรู้ แต่ทุก ๆ คน สามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฮาลาลได้

…………………………

 

ผู้เขียน

เขียนโดย นายพิทักษ์ อาดมะเร๊ะ 

Compiled by Pitak Ardmare

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this