Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

การประยุกต์ใช้ระบบ HAL-Q เพื่อบริการอาหารฮาลาลแก่ผู้ป่วย

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

HA (Hospital accreditation) คือ การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลจากหน่วยงานภายนอกเพื่อกระตุ้นให้สถานพยาบาล พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย โดยอาศัยมาตรฐานที่อิงหลักการสากลเป็นกรอบในการพัฒนา [1] โรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (HA) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) จะมีการจัดการระบบการบริหารและการดำเนินงานของโรงพยาบาลที่ครอบคลุมทั้งการมีระบบคุณภาพที่ดี และมีกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทุกหน่วยงานในโรงพยาบาลมีการดำเนินงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ มีการบันทึกปฏิบัติงาน และประเมินผลความพึงพอใจจากผู้รับบริการ ซึ่งช่วยให้ตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี [2] นอกจากนี้โรงพยาบาลยังได้สนับสนุนให้มีการพัฒนางานด้านคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และนำระบบคุณภาพอื่นๆมาประยุกต์ใช้ควบคู่กัน [3] ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาคุณภาพด้านการให้บริการอาหารแก่ผู้ป่วยของงานโภชนาการ ซึ่งได้ดำเนินงานตามมาตรฐาน HA ควบคู่กับการประยุกต์ใช้ระบบ HAL-Q ที่พัฒนาขึ้นโดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานโภชนาการเป็นหน่วยงานหลักในการบริการอาหารแก่ผู้ป่วยที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมีหน้าที่ควบคุมคุณภาพอาหารให้สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย จัดอาหารตามหลักโภชนาการ และสอดคล้องกับแผนการรักษาของแพทย์ หากมีผู้ป่วยที่เป็นมุสลิมก็จำเป็นต้องให้บริการอาหารที่ฮาลาล [4] ซึ่งในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้นับว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม โรงพยาบาลในพื้นที่จึงได้มีนโยบายผลิตและให้บริการอาหารฮาลาลแก่ผู้ป่วย ทางโรงพยาบาลจึงได้นำระบบ HAL-Q มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตให้สะอาด ปลอดภัย และสอดคล้องตามหลักศาสนาอิสลาม โดยเพิ่มเติมในส่วนของการกำจัดและจำกัดสิ่งสกปรกตามหลักศาสนา (นญิส) และสิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิมในการบริโภค (หะรอม) ไม่ให้ปนเปื้อนเข้าไปในกระบวนการผลิต [5] ทำให้อาหารสะอาดและปลอดภัยต่อผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นต่อระบบการให้บริการของโรงพยาบาล อีกทั้งยังเป็นผลดีในแง่ของการรักษาอีกด้วย

ผู้เขียน

เขียนโดย นางสาวอาซีเยาะ ลาเตะ

Compiled by Miss. Arseeyoh Lateh
อ้างอิง …
  1. อนัญชนา ศรีบุรินทร์ (2564). HA คืออะไร สืบค้น 30 สิงหาคม 2564 จาก https://www.khongch.go.th/web/index.php?r=km%2Fview&id=2
  2. นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล (2564). HA มีผลต่อคุณภาพของโรงพยาบาลอย่างไร สืบค้น 3 กันยายน 2564 จาก https://www.srisangworn.go.th/home/ha/HAandISO9000.htm
  3. ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ (2562). การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล สืบค้น 3 กันยายน 2564 จาก http://bkh.moph.go.th/bkqc/file/HA%20%201%20day.pdf
  4. คณะทำงานพัฒนาคู่มือและตัวชี้วัด สายวิชาชีพนักโภชนาการ (2560). คู่มือการปฏิบัติงานโภชนาการในโรงพยาบาล สืบค้น 4 กันยายน 2564 จาก https://bit.ly/3jHs4sa
  5. ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. HAL-Q ระบบคุณภาพเพื่อรับประกันและรับผิดชอบต่อสภาพฮาลาล สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564 จาก https://bit.ly/2WW3ACP
อ่านทั้งหมด

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this