Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

ข้อดีของปฏิทินอาหรับกับการกำหนดเดือนรอมฎอน

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

ข้อดีของปฏิทินอาหรับกับการกำหนดเดือนรอมฎอน

ในเดือนพฤษภาคมนี้พี่น้องชาวมุสลิมทั่วโลกกำลังถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ฮ.ศ.1442 ก่อนจะไปว่ากันด้วยเรื่องรอมฎอนเดือนแห่งการถือศีลอดในอิสลาม หลายคนสงสัยว่าทำไมจู่ๆ มุสลิมในประเทศไทยถือศีลอดในช่วงฤดูร้อนด้วย เราไปที่มาเรื่องการกำหนดวันเวลากันก่อน ข้อดีของปฏิทินอาหรับกับการกำหนดเดือนรอมฎอน “วัน” ไม่ว่าจะจันทร์ อังคาร หรือเดือนไม่ว่าจะมีนาคม เมษายน ล้วนเป็นสิ่งสมมุติที่พัฒนาขึ้นมาเนิ่นนานเป็นพันปีกระทั่งกลายเป็นมาตรฐานที่ทุกคนในโลกเข้าใจตรงกัน แต่วันเวลาใช่ว่าทุกคนจะเข้าถึงได้ไม่จำกัด จับพลัดจับผลูบางคนอาจอยู่ในสถานที่ที่ยืนยันวันเวลาไม่ได้ จำเป็นต้องมีวิธีธรรมชาติเพื่อกำหนดวันเวลากันบ้าง เริ่มด้วยการกำหนดค่าคงที่ให้ได้ก่อน เป็นค่าคงที่ที่เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด จะใช้ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดวงดาวก็ได้ ค่าคงที่ควรมีช่วงเวลาสั้น อย่างเช่น เวลาขึ้นของดวงอาทิตย์ทุก 24 ชั่วโมง เวลาขึ้น 1 ค่ำของดวงจันทร์ทุก 29-30 วัน การกำหนดให้ค่าคงที่หยุดนิ่งเช่นนี้มีแม้ในอวกาศที่ทุกเทหวัตถุเคลื่อนที่ตลอดเวลา การกำหนดค่ามาตรฐานที่หยุดนิ่งเช่นนี้เรียกว่า LSR หรือค่ามาตรฐานหยุดนิ่งท้องถิ่น หรือ Local Standard of Rest 

ในคัมภีร์อัลกุรอานที่มีอายุ 1,400 ปี มีถ้อยคำที่อาจตีความได้ถึง LSR ในอวกาศ โดยบทที่ 36 ยาซีน วรรคที่ 38 กล่าวว่า “และดวงอาทิตย์วิ่งไปยังจุดที่กำหนด (ซึ่งหยุดนิ่ง)” โดยใช้คำว่า “ลิมุตตะฆอรริน” (لِمُسۡتَقَرٍّ)  ที่หมายถึงค่าที่กำหนดไว้  เรื่องดาราศาสตร์กับอิสลามเห็นทีต้องยกยอดไปคุยกันวันหลัง วันนี้คุยกันเรื่องการดูจันทร์เสี้ยว (crescent) เพื่อกำหนดคืนขึ้น 1 ค่ำกันก่อน มีคำถามอยู่บ่อยว่าเหตุใดโลกก้าวหน้ามาจนถึงขั้นนี้ สามารถกำหนดเวลาเป็นมิลลิวินาทีหรือต่ำกว่านั้นได้ด้วยซ้ำ แต่มุสลิมยังสังเกตจันทร์เสี้ยวขึ้น 1 ค่ำเพื่อกำหนดการเปลี่ยนเดือนกันอยู่ เป็นวิธีการที่น่าจะเลิกใช้กันตั้งแต่หลายศตวรรษที่แล้ว

มุสลิมที่มีประชากรอยู่กว่าสองพันล้านคนหรือร้อยละ 23 ของประชากรโลก พบในกว่า 180 ประเทศ ส่วนใหญ่กำหนดวันและเดือนผ่านการคำนวณด้วยเทคโนโลยีที่ทุกฝ่ายใช้กันทั้งนั้น ทว่ายังคงให้ความสำคัญกับการดูจันทร์เสี้ยวเพื่อใช้เป็นทางเลือกอยู่ มีบางประเทศกำหนดให้เป็นทางบังคับเสียด้วยซ้ำ ซึ่งช่วยให้สังคมไม่พลาดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ปลายยุคกลางช่วงศตวรรษที่ 13-15 เด็กมุสลิมในโรงเรียนที่เรียกว่ามักตับของเอเชียกลางใช้ทั้งวิธีคำนวณและการดูจันทร์เสี้ยวเพื่อกำหนดเดือน อิสลามให้ความสำคัญกับการฝึกฝน และการกำหนดทางเลือก การกำหนดความสว่างของดวงจันทร์ขึ้น 1 ค่ำนับเป็น LSR ที่ดีที่สุด ไม่มีค่ำไหนที่ดีกว่านี้

หลายชาติรวมทั้งไทยกำหนดเดือนจากการดูดวงจันทร์ หนึ่งปีหรือ 12 เดือนทางจันทรคติมีวันประมาณ 354 วัน น้อยกว่าวันทางสุริยคติ 11-12 วัน ทุกสามปีจึงเลื่อนเดือนออกไปหนึ่งเดือนสักครั้งหนึ่งซึ่งภาษาอาหรับเรียกว่า “อัลนะซีอฺ” ปีทางจันทรคติจึงสอดคล้องกับสุริยคติ ทว่าในอิสลาม ค.ศ.632 มีคำสั่งปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานบทที่ 9 อัตเตาบะฮฺ วรรคที่ 37 ให้งดการเลื่อนเดือน นับแต่นั้นมาจนปัจจุบัน ปีตามปฏิทินอาหรับมีวันน้อยกว่าปฏิทินสากล 11-12 วัน 33 ปีอาหรับยาวเท่ากับ 32 ปีสากล เป็นผลให้พิธีกรรมที่กำหนดตามปฏิทินอาหรับ เช่น การถือศีลอดเดือนรอมฎอน หรือพิธีฮัจญฺเดือนซุลฮิจญะฮฺเลื่อนเร็วขึ้น 11-12 วันทุกปี  การงดประเพณีอัลนะซีอฺจึงเป็นผลให้คนที่อายุเกิน 40 ปีมีโอกาสถือศีลอดทั้งมีโอกาสทำฮัจญฺในทุกช่วงเวลาของปี หนาวบ้าง ร้อนบ้างไม่จำเจ เหล่านี้ย่อมนับเป็นข้อดีมิใช่หรือ #drwinaidahlan, #ดรวินัยดะห์ลัน, #รอมฎอน

 

ผู้เขียน

เขียนโดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน

Compiled by Assoc. Prof. Dr. Winai Dahlan

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this