Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

บทสรุปของเนื้อวัวปลอมด้วยเทคนิค Real-Time PCR

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

จากสถานกาณ์การแพร่ระบาดของเนื้อสุกรปลอมปนเป็นเนื้อวัวในพื้นที่ต่างๆ ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้บริโภคหลายท่านมีความกังวลในการเลือกบริโภคเนื้อวัวทั้งเนื้อสดและเนื้อแปรรูปโดยไม่ทราบแหล่งที่มาที่ชัดเจน ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงผู้บริโภคมุสลิมเท่านั้นแต่ยังรวมถึงผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิม ร้านอาหาร ผู้ค้ารายย่อย รวมทั้งเขียงเนื้อในตลาดก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

การตรวจพบการปลอมปนเนื้อสุกรในเนื้อวัวนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร? 

ห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับตัวอย่างเนื้อวัวต้องสงสัยจากผู้บริโภครายหนึ่งที่สงสัยว่าเนื้อวัวที่ได้นำมาประกอบอาหารนั้นมีลักษณะแปลกไป พร้อมกับสังเกตเห็นมีขนสีขาวติดอยู่ที่เนื้อวัวด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลได้รับตัวอย่างจึงทำการตรวจวิเคราะห์โดยใช้เทคนิค Real-Time PCR ซึ่งผลที่ได้พบว่าเนื้อวัวดังกล่าวนั้นไม่ใช่เนื้อวัวแต่เป็นเนื้อสุกร เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการฯ ได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมถึงแหล่งที่มาของเนื้อต้องสงสัยดังกล่าวทราบว่าแหล่งที่มาของเนื้อมาจากรถเร่ขายส่งตามบ้าน หลังจากนั้นมีผู้บริโภคอีกหลายรายได้ส่งตัวอย่างเนื้อวัวมาจากหลายพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมายังห้องปฏิบัติการฯเพื่อตรวจสอบ ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อวัวต้องสงสัยที่ถูกส่งมาตรวจสอบรวมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนสิงหาคม 2563 ทั้งหมด 81 ตัวอย่าง พบดีเอ็นเอสุกรจำนวน 29 ตัวอย่าง (36 % ของตัวอย่างทั้งหมด) ซึ่งแหล่งที่พบการปนเปื้อนหรือที่มีความเสี่ยงในการปนเปื้อนมากที่สุดคือรถเร่ รองลงมาคือตลาดออนไลน์ ตลาดจร ร้านอาหาร และตลาดสด ตามลำดับ 

เทคนิค Real-Time PCR ช่วยบอกว่าเป็นเนื้อวัวแท้หรือเนื้อวัวปลอมได้อย่างไร?

การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลโดยใช้เทคนิค Real-Time PCR นี้เป็นเทคนิคพื้นฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในห้องปฏิบัติการอื่นๆ ในการตรวจวิเคราะห์โรค ตรวจหาเชื้อไวรัส ตรวจหาการแสดงออกทางพันธุกรรม รวมทั้งถูกนำมาใช้ในการตรวจหาการปนเปื้อนสัตว์ต้องห้ามตามหลักการของศาสนาอิสลามซึ่งเป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นโดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ เทคนิคนี้ใช้หลักการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอที่สนใจในหลอดทดลองและสามารถติดตามการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอที่สนใจได้ในทุกๆ รอบของปฏิกิริยา โดยตัวอย่างเนื้อจะถูกนำไปสกัดดีเอ็นเอเพื่อให้ได้ดีเอ็นเอบริสุทธิ์ จากนั้นจึงนำไปทำปฏิกิริยา Real-Time PCR โดยใช้ดีเอ็นเอเริ่มต้นที่จำเพาะกับดีเอ็นเอสุกร หรือที่เรียกว่า primer เป็นตัวเริ่มต้นในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอร่วมกับเอ็นไซม์ DNA Polymerase และ dNTP เทคนิค Real-Time PCR นี้เป็นเทคนิคที่มีความไวและมีความจำเพาะสูง ใช้ปริมาณตัวอย่างหรือดีเอ็นเอเพียงเล็กน้อยสามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้เป็นทวีคูณ และสามารถทราบผลได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งถ้าตัวอย่างมีการปนเปื้อนดีเอ็นเอสุกรเกิดขึ้นผลที่ได้จะแสดงผลออกมาเป็นกราฟรูปตัวเอส แสดงว่าในปฏิกิริยามีการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอสุกร และยังสามารถทราบปริมาณได้เมื่อเทียบกับกราฟมาตรฐาน ถ้าตัวอย่างไม่มีการปนเปื้อนดีเอ็นเอสุกรผลจะแสดงออกมาเป็นกราฟเส้นตรงแสดงว่าไม่มีการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอสุกร


Amplification curve แสดงการเพิ่มปริมาณของดีเอ็นเอ

การปลอมปนเนื้อสุกรเป็นเนื้อวัวเพื่อหลอกลวงผู้บริโภคที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่เนื้อวัวมีราคาที่สูงกว่าเนื้อสุกร จึงทำให้ผู้จำหน่ายมองเห็นช่องทางดังกล่าวมาปลอมแปลงขึ้นเพื่อหวังกำไรในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาจากพิษโควิด ขณะนี้หน่วยงานต่างๆที่มีอำนาจหน้าที่และเกี่ยวข้องและได้ร่วมมือกันเข้ามาดูแลเพื่อปราบปรามอย่างจริงจังพร้อมทั้งหาแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่ในการหลอกหลวงผู้บริโภคเช่นนี้อีก ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)        กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (กป.ปคบ.) กรมปศุสัตย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สถาบันฮาลาลแห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นๆ อย่างไรก็ตามผู้บริโภคเองรวมทั้งผู้ประกอบการร้านอาหารต่างๆ ยังคงต้องระมัดระวังในการเลือกบริโภคที่สำคัญควรเลือกวัตถุดิบหรืออาหารที่ผ่านการรับรอง สามารถสอบกลับไปยังแหล่งที่มาได้รวมทั้งมีมาตรฐานที่น่าเชื่อถือเพื่อความปลอดภัยและประโยชน์ต่อตัวจำหน่ายและตัวผู้บริโภคเอง

ผู้เขียน

เขียนโดย นางสาวสุกัญญา   โสอุดร

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this