Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

Switch to the dark mode that's kinder on your eyes at night time.

Switch to the light mode that's kinder on your eyes at day time.

, ,

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร หลังสถานการณ์การการระบาดโควิด-19

Share
Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr
0

กระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตโควิด-19 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผลิต การเจริญเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่กล่าวมาล้วนส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะเรื่องการบริโภคและอุปโภค  มักมีคำถามอยู่เสมอว่า เรากินเพื่ออยู่ หรืออยู่เพื่อกิน  เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้า ในอนาคต การกินของเราจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนแปลงไปแล้วจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร วันนี้ทางผู้เขียนจึงได้รวบรวม ข้อมูลแนวโน้มของอุตสาหกรรมในโลกอนาคตมาให้ผู้อ่านได้ทราบกัน [1] จากข้อมูลของศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab ได้นำเสนอข้อมูลวิจัยชุดใหม่ “FUTURE FOOD BUSINESS TREND 2021-2022 [2] ได้รวบรวม 9 แนวโน้มที่จะเป็นโอกาสใหม่ทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคสอดคล้องกับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไป 

  1. Immunity Boosting : กินเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน จากกระแสของโควิด-19  พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคเปลี่ยนไป จะเน้นอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันมากขึ้น 
  2. Personalized Nutrition : โภชนาการเฉพาะบุคคล  คือ การออกแบบโภชนาการสำหรับแต่ละบุคคลเพื่อตอบสนองต่อความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้มาก ซึ่งอาจทำโดยนักกำหนดอาหาร หรือนักโภชนาการ
  3.  Well-Mental Eating : กินเพื่อสุขภาพจิตใจ ปัญหาด้านสุขภาพจิตถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต หลายๆ ด้าน ดังนั้นการเลือกบริโภคอาหารที่ทำให้ช่วยคลายเครียดได้ จึงมีบทบาทในปัจจุบัน  
  4.  Gastronomy Tourism : ท่องเที่ยวสายกิน  คือการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อค้นหาวัฒนธรรมผ่านอาหารในท้องที่นั้นๆ ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าอาหารคือส่วนสำคัญของการตัดสินใจท่องเที่ยว  
  5. Elderly Food : อาหารผู้สูงอายุ ปัจจุบันหลายประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเลือกอาหารที่มีผลต่อสุขภาพจึงมีความสำคัญ การกินอาหารที่ไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคต่างๆ ตามมา 
  6. Shared Kitchen ครัวที่แชร์กันมากขึ้น จากวิกฤตโควิดผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาเน้นทำอาหารกินเอง ดังนั้นการมีครัวเพื่อการฝึกฝน ทดลอง สร้างสรรค์ และสังสรรค์ จึงได้รับความนิยมมากขึ้น 
  7. Biodiverse Dining กินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ การบริโภคอาหารเดิมๆ ซ้ำๆ ความหลากหลายทางชีวภาพอาจหายไปส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ 
  8. Food waste Rescue แก้ปัญหาขยะอาหาร ปัจจุบันขยะที่เกิดขึ้นจากการผลิตและบริโภคอาหาร เพิ่มขึ้นสูงทุกวัน การชุบชีวิตขยะอาหารเพื่อนาไปทำอาหารอีกครั้ง เริ่มได้รับความนิยม 
  9.  NewTrition โภชนาการรูปโฉมใหม่ การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ได้มาจากสัตว์ เน้นบริโภคเฉพาะอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มาจากผัก รวมถึงนวัตกรรมต่างๆ ในการผลิต การคิดค้นอาหารรูปแบบใหม่ๆ เริ่มเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

ทั้งหมดนี้คือ 9 แนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในวงการอาหารที่จะบุกเบิกสิ่งใหม่ๆ นำข้อมูลไปต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างนวัตกรรมและพัฒนาธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ที่โดนใจ แก่ผู้บริโภคให้มากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมอาหารยังคงเป็นวงการที่เนื้อหอมเสมอ ไม่ว่าจะเจอวิกฤตการณ์อะไร ถ้าเราเรียนรู้ที่จะปรับตัว เราก็สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง 

 

Reference 

[1]F.G. Santeramoa,,et al (2018). Emerging trends in European food, diets and food industry. Food Research International, 104 39–47.

[2] https://www.baramizi.co.th/shop/ebook/future-food-business-trend-2021-22/ ,เข้าถึง 4 มีนาคม 64

 

ผู้เขียน

HALAL INSIGHT ฮาลาล อินไซต์ 
www.halalinsight.org

Back to Top
Share via
Share this